Friday, November 27, 2020

ป้าอ่อน ซอยก๊วน: พลังของความ "ธรรมดา" ที่ถูกหยิบมาเป็น Branding


 ป้าอ่อน ซอยก๊วน: พลังของความ "ธรรมดา" ที่ถูกหยิบมาเป็น Branding 

ซ่อนตัวอยู่หลังศาลเจ้า ในซอยซับซ้อนชนิดที่เรียกว่ารถวิ่งสวนกันยังลำบาก บ้านไม้สองชั้นธรรมดาทาสีเขียวพาสเทลยืนตัวอยู่เงียบๆ ไม่โหวกเหวกโวยวายหลังลานกว้างที่จอดรถได้ประมาณ 7 - 8 คัน ป้ายห้อยธรรมดาเขียนว่า "ร้านป้าอ่อน ซอยก๊วน" ใครจะไปคิด ว่าบางเสาร์อาทิตย์ คนก็ยังยอมยืนรอตากแดดกันอยู่ที่ลานกว้างนั้นเพื่อจะ"รอ" ลิ้มรสอาหารธรรมดาในร้านบ้านไม้หลังนี้ 

ร้าน "ป้าอ่อน ซอยก๊วน" บ้านไม้สองชั้นแบบธรรมดา

ร้านป้าอ่อนร้านนี้ จัดว่าเป็นร้านอาหารตามสั่งก็ว่าได้ครับ มีเมนูให้เลือกอยู่ 1 กระดาษเอสี่เคลือบพลาสติกใส เดินเข้าไปโต๊ะก็เรียงรายอย่างไม่เป็น Pattern เท่าไหร่อยู่ที่ชั้นล่างของบ้าน ทั้งในตัวบ้าน และเลยเถิดออกมาหน้าบ้านบ้าง เก้าอี้ ตั่งไม้ สุดแต่จะหาได้ในบ้าน "ธรรมดา" หลังหนึ่ง อาหารมากหน้าหลายตาเสริฟมาในจานอย่างไม่ประดับประดาตกแต่งอะไร อาหารทั้งราดข้าว ทั้งเป็นกับ วางโปะบนกันและกันมาอย่าง "ง่ายๆ" ช้อนส้อมคู่หนึ่งก็วางอยู่ในนั้น เรียกว่า เสิร์ฟความ "ธรรมดา" ในบรรยากาศแบบ บ้าน จริงๆครับ 

แต่ความธรรมดาที่ผมพูดถึงนี้เอง กลายเป็น Brand Personality ของร้านป้าอ่อนไปอย่างอัตโนมัติ เมื่อผู้คนมีความต้องการแสวงหาอะไรที่ "บ้านๆ" แต่เต็มด้วยความสดของวัตถุดิบ เสิร์ฟมาในจานแบบไม่ประดิดประดอย ไม่มีพิธีรีตองอะไรให้วุ่นวายใจ ทุกอย่างดูเรียบง่าย และแสนจะธรรมดา กับกลายเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ใครต่อใครต้องลองมาลิ้มรสชาติความ "ถึงเครื่อง" แบบธรรมดากันที่ร้านป้าอ่อนที่อย่างไม่ขาดสาย 

Brand Personality ไม่จำเป็นต้อง "หวือหวา" เสมอไปครับ หนึ่งในลักษณะบุคลิกของ Brand คือลักษณะที่เรียกว่า Normal Guy ครับ ลักษณะ Brand แบบ Normal Guy นี้ จะเป็นการสร้างตัวตนของแบรนด์ในลักษณะของความ "ธรรมดา" สามัญ กินง่าย อยู่ง่าย เข้าถึงง่าย ไม่มีพิธีรีตองอะไร จริงใจเป็นที่ตั้ง และที่สำคัญคือ แบรนด์จะมีลักษณะถ่อมตัวถ่อมตน จนกลายเป็นเสน่ห์ได้ครับ ความ "ธรรมดา" จากบุคลิกของ Brand จะถูกสื่อสารออกมาในทุกส่วนครับ ตั้งแต่ Touch Point และ Environment (บรรยากาศในร้าน ร้านค้า จุดที่ผู้บริโภคจะเข้าถึง) รวมไปถึง Product ของแบรนด์ (ในที่นี้คือ ความจริงใจของวัตถุดิบ ความสด ความไม่ประดิดประดอยจานเสิร์ฟ) Packaging (ภาชนะที่ใช้) ซึ่งทุกอย่างดู "ธรรมดา" ไปด้วยกันทั้งหมดครับ 

ความไปด้วยกันนี้ หรือที่เราเรียกกันว่า Consistency จะเป็นสิ่งที่ทำให้ Brand Personality แห่งความธรรมดานี้ "มีพลัง" ขึ้นมาได้อีกด้วยครับ ลูกค้าที่เข้ามาสัมผัสความธรรมดาจะสัมผัสควาสดใหม่ และความ "ไม่กั๊ก" วัตถุดิบได้อย่างจริงใจครับ ทำให้ ความธรรมดานี้เอง พาร้าน "ป้าอ่อน" มาสู่โลกโซเชียล และมีผู้สนใจไปสัมผัสความธรรมดานี้กันอย่างต่อเนื่อง จนบางเสาร์อาทิตย์ คนก็ล้นออกมาด้านหน้าเลยทีเดียวครับ 

กะเพรากั้งราดข้าว ธรรมดา

กะเพราะกุ้งราดข้าว
แกงป่ากุ้ง

ผมเองก็เป็นคนนึงที่หลงรัก Brand Personality แห่งความ "ธรรมดา" แบบนี้ครับ เลยต้องแวะเวียนมาสัมผัสรสชาติแห่งความธรรมดา ถึงร้าน "ป้าอ่อน ซอยก๊วน" อ.เมือง จ.ชลบุรี ครับ ถ้าคุณเองก็เป็นคนนึงที่อยากลองออกจากความ "หวือหวา" มารับรสชาติความ "ธรรมดา" แบบถึงเครื่องดูบ้าง แนะนำลองมาซักครั้งครับ รับรองว่า รสสัมผัสแห่งความ "ธรรมดา" นี้แหละครับ ที่จะทำให้คุณ ซี้ดปาก!!! 

---------------------------------------------------------------------------------

อ.ดร.ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ 

www.presentation-academy-thailand.com 

www.facebook.com/powerpoint100lemgwean


Saturday, October 31, 2020

 


Marketing เครื่องรางของขลัง พลังแห่ง "การเล่าเรื่อง" 

เชื่อว่า ....ใครหลายๆคนที่ทำธุรกิจอยู่ ก็คงอยากให้ขายดีแบบเทน้ำเทท่าเป็นธรรมดาครับ พอมาดูสินค้าต่างๆที่มีอยู่ในบ้านเรา ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ใครที่มาจับธุรกิจเครื่องรางของขลัง ก็มีโอกาสปังไม่รู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งหลายๆคนก็มองว่า "ของมันขายได้อยู่แล้ว" หรือ "มันถูกจริตคนไทย" ฯลฯ แต่....เชื่อมั้ยครับว่า ไม่ว่าธุรกิจอะไรก็ตาม ก็ปังไม่แพ้กับเครื่องรางได้เช่นกัน แค่รู้ความลับของ "การเล่าเรื่อง" ที่วันนี้จะเอามาเล่าให้ฟังครับ 

ก่อนอื่น เรามาฟังกันก่อน ว่าทำไมต้อง "การเล่าเรื่อง" 

เรื่องเล่าเป็นส่วนนึงของชีวิตมนุษย์มานานแล้วครับ จนกระทั่งมันแทรกซึมมาอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว เรามักจะจำได้ดีกว่า อินกว่า เข้าใจกว่า ถ้าเราถ่ายทอดอย่างมีศิลปะ และเรื่องเล่าก็มักจะถูกหยิบขึ้นมาเพื่อทำให้คนอยากรู้ต่อ อยากเข้าใจต่อครับ แต่ว่า....วันนี้ ไม่ได้ให้ไปแต่งเรื่องนะครับ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า ถ้ามองจากมุม"การเล่าเรื่อง" ทำไมเครื่องรางของขลังถึงขายดี 

ในทุกเรื่องเล่า มักจะมี Conflict หรือว่า "ความขัดแย้ง" อยู่ด้วยเสมอครับ ถ้าไม่มี มันจะไม่มีเรื่องเล่าครับ ซึ่งลักษณะของ Conflict นั้น ก็สามารถแยกย่อยออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้ครับผม 

1. แบบ Man Against Man 

ตัวเรา ขัดแย้งกับ คนอื่นๆ ในที่นี้ความขัดแย้งไม่ได้หมายความว่าให้มีเรื่องกันนะครับ มันอาจจะหมายถึง การแข่งขัน ทำให้เราดีกว่า เก่งกว่า ทำได้ถูกต้องกว่า เรียกว่า "ชนะ" คนอื่นในทางใดทางหนึ่งครับ ซึ่งความขัดแย้งแนวๆนี้ ก็นำไปสู่เรื่องของ การฝึกฝน หรือการพยายามอะไรบางอย่าง ที่จะทำให้คนคนนึง ชนะคู่แข่งได้ในที่สุดครับ 

2. แบบ Man Against Himself 

ความขัดแย้งแบบนี้ เป็นความขัดแย้งระหว่างตัวคนคนนึง กับตัวเค้าเองครับ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจุบัน หรืออดีตก็ได้ครับ เช่นสมมติว่า ตำรวจต้องจับลูกตัวเอง ก็มีความขัดแย้งภายในตัวเองระหว่างภาระหน้าที่ และความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือแม้กระทั่ง คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษอยากจะได้ทุนเรียนต่อต่างประเทศ ก็ต้องมีความขัดแย้งระหว่างคนคนนั้นกับตัวเอง เกิดขึ้นครับ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่เรื่องของการพยายาม การเลือก การตัดใจ แม้กระทั่งความเสียใจในการต้องเลือกทางนึง ทิ้งทางนึงครับ 

3. แบบ Man Against Society 

ความขัดแย้งแบบคนเดียวกับคนหมู่มาก หรือคนกับสังคมครับ ความขัดแย้งแบบนี้พบบ่อยมาก เวลาคนคนนึงพยายามจะทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี ทำอะไรใหม่ๆ ก็ย่อมไมไ่ด้รับการยอมรับในเบื้องต้นเป็นธรรมดาครับ สิ่งนี้ก็ต้องนำไปสู่การพิสูจน์ตัวตน ความพยายาม (อีกแล้ว) จนกระทั่งสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับครับ  หรือ ถ้ามองคร่าวๆก็เกิดขึ้นได้ในหนังประเภทวิ่งหนี่ซอมบี้ ก็ได้ครับ มนุษย์ผู้ทำทุกอย่างเพื่อเอาตัวรอด ก็ใช่ความขัดแย้งประเภทนี้ครับ 

4. แบบ Man Against Nature 

ความขัดแย้งที่ดูยิ่งใหญ่ระหว่าง มนูษย์กับธรรมชาติ ส่วนมากพบตามภาพยนตร์ที่เป็นภัยพิบัติต่างๆครับ ที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราต้องพยายามเอาชีวิตรอดให้ได้ ส่วนมากแล้วมักจะนำไปสู่ ปฏิภาณ ไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีครับ ในเชิงการคลาดแล้ว เรามักจะพบกับธุรกิจ "เครื่องสำอาง" ครับ ที่สามารถต่อสู้ "ริ้วรอยแห่งวัย" ได้ครับ (เพราะมันคือร่องรอยแห่งธรรมชาติเหมือนกัน)

5. แบบ Man Against Fate 

อันนี้แหละ เป็นอันสุดท้ายที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลยไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม ความพยายามก็ไม่ช่วย เพราะมันเป็นความขัดแย้งระหว่าง มนุษย์ และโชคชะตา ครับ เพราะเราไม่สามารถมองเห็นโชคชะตาใดๆได้ครับ แต่เรามักจะพบกว่า สิ่งที่เราอยากได้จะไม่ได้ หรือสิ่งที่เราไม่อยากได้มักจะมาหาเรา สิ่งเหล่านี้คือโชคชะตาครับ ความพยายามก็อาจจะไม่ตอบโจทย์ในส่วนนี้ ดังภาษิตที่ว่า "แข่งเรือแข่งพายอ่ะแข่งได้ แต่แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้"

เครื่องรางของขลัง พลังแห่ง Conflict 

เครื่องรางและของขลัง เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ Conflict สุดท้ายเลยครับ Man Against Fate เพราะว่า ความพยายามอาจจะไม่ใช่คำตอบของหลายๆอย่าง เครื่องรางจึงใช้ช่องว่างนี้ ทำให้เกิด Marketing ได้อย่างปังๆ เพราะเครื่องรางเหล่านั้นถูกนำเสนอให้เป็น "ตัวช่วย" มนุษย์ที่จะสามารถเอาชนะ Conflict แบบ Man Against Fate ได้ในที่สุด ซึ่งมนุษย์ก็เชื่อแบบนั้นครับ และผลก็อาจจะต้องรอการพิสูจน์ดิวยการเช่าบูชาต่างๆครับ (จะได้ไม่ได้ไม่รู้ แต่สินค้าก็มีการวางมาแล้วว่าจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วย ให้มนุษย์เอาชนะ Conflict ได้มากกว่าคนที่ไม่มีสินค้านี้ครับ) 

แล้วสินค้าอื่นๆจะเริ่มแบบนี้ได้มั้ย 

ได้ครับ ถ้าอยากเริ่มทำการตลาดไม่ว่าสินค้าอะไร ลองถามใจตัวเองก่อนว่า สินค้าที่เรามี และที่เราจะขายนั้น ตอบ Conflict ไหนได้บ้าง ซึ่งถ้าลองดูแล้วสามารถตอบ Conflict ได้ ก็สามารถหยิบตรงนั้นขึ้นมาเป็นตัวตั้งต้นของเรื่องเล่าได้เลยครับ เพราะว่าสุดท้ายแล้ว ลูกค้าที่ใช้สินค้านี้ ก็จะสามารถ "เอาชนะ" Conflict บางอย่างได้ในชีวิต โดยมีสินค้าของเราเป็นตัวช่วยครับ รับรองว่า ปังได้ไม่ยากครับ 

สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ลองเริ่มด้วยวิธีนี้ดูก็ได้นะครับ ไม่แน่ว่า เจ้าสัวคนใหม่อาจจะเป็นคุณที่เริ่มต้นจากเรื่อง Conflict เล็กๆก็ได้นะครับ 

-------------------------------------------------------------------------------------

อ.ดร.ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ 

www.presentation-academy-thailand.com

www.facebook.com/powerpoint100lemgwean


Thursday, October 8, 2020


 6 เคล็ดลับ ไม่ต้องไปอมพระวัดไหน  เล่าอะไร ใครก็เชื่อ

ในการเล่าเรื่อง หรือการนำเสนอ แน่นอนว่าหากพูดไปแล้วคนดูคนฟังไม่เชื่อ หรือข้อมูลที่เตรียมมาไม่น่าเชื่อถือ มันก็คือจบกันครับ แต่....บางครั้ง ถึงแม้ว่าข้อมูลจะจริงมากๆ มีหลักฐานยืนยัน Support ต่างๆ มาเต็ม ความเป็นวิชาการเกินร้อย คนดูคนฟังก็อาจจะยังไม่เชื่อถืออยูดี ในขณะเดียวกัน บางครั้งข้อมูลกลางๆ เล่ากันง่ายๆ คนดูก็เชื่อได้เป็นวรรคเป็นเวร มันเกิดจากอะไรกันนะ 

ในการนำเสนอ ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือครับ เพราะมันไม่ได้ขึ้นกับ "ข้อมูล" อย่างเดียว แต่มันขึ้นกับ "ตัวคนนำเสนอ" ด้วยเช่นกัน รวมไปถึง "ความสัมพันธ์ระหว่างคนพูดและคนฟัง" ก็เป็นปัจจัยเสริมแรงให้การนำเสนอต่างๆนั้น น่าเชื่อถือมากน้อยได้แค่ไหน 

หนังสือ How to Win Friends and Influence People ได้พูดไว้ถึง 6 วิธี ที่จะทำให้คน "เชื่อถือ" เราได้มากขึ้นด้วยครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ย้ำอีกทีว่าไม่เกี่ยวกับเนื้อหาเลยนะครับ เกี่ยวกับตัวคนเล่าคนพูด และความสัมพันธ์ระหว่างคนพูดกับคนฟังล้วนๆ มีอะไรบ้าง ลองดูกันครับ

1. คนฟังจะเชื่อ ถ้าเค้ารู้สึกว่าเค้าสำคัญ 

เพราะศูนย์กลางของการนำเสนอ หรือการเล่าเรื่อง ไม่ใช่คนพูดครับ หากแต่เป็นคนฟัง ดังนั้น ผู้พูดเองควรต้องเอาใจใส่ผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเค้าเป็นคนสำคัญ เช่น การทักทายผู้ฟังในรายละเอียดที่แสดงถึงความใส่ใจ (เสื้อผ้า หน้า ผม เครื่องประดับ) การไถ่ถามสารทุกข์สุขดิบ (รถติดมั้ย ฝนตกมั้ย) ก็จะทำให้คนฟังรู้สึกได้ว่า คนพูดนั้น "ใส่ใจ" ครับ 

2. คนฟังจะเชื่อ ถ้าเค้ารู้ว่าฟังแล้วจะได้อะไร 

สุดท้ายแล้ว คนที่มาฟังเรา ก็ไม่ได้มานั่งฟังเฉยๆครับ (แม้บางคนจะโดนบังคับมาก็ตาม) การฉายภาพให้เห็นก่อนว่า หลังจากที่ฟังจบแล้ว หรือเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว สิ่งที่จะเปลี่ยนไป กับคนฟังคืออะไรบ้าง จะได้ความรู้อะไรบ้าง เอาไปทำอะไรได้บ้าง ก็จะทำให้คนฟังอยากจะฟัง และตั้งใจฟังได้มากขึ้นครับ

3. คนฟังจะเชื่อ ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นจริงๆ 

ในสมัยกรีก การศึกษาเรื่องวาทวิทยาได้ระบุไว้ถึง 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของเรื่องราว หรือเนื้อหาต่างๆ 1 ในนั้นคือ "คนพูดเป็นใคร" (Ethos) ครับ ดังนั้นสำคัญมากก่อนที่ทุกอย่างจะเริ่มต้นขึ้น การแนะนำตัวของผู้พูดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความ "มั่นใจ" กับผู้ฟังได้ว่า วันนี้ ผู้ฟังได้มาฟังกับตัวจริง จริงๆ ครับ  แต่....ดาบสองคมของการแนะนำตัวก็คือ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงผลงานทั้งหมดที่มีนะครับ มันจะเป็นการ "ยกตนข่มท่าน" เปล่าๆ เอาเป็นว่า พูดคร่าวๆก็พอ เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในวันนี้ที่ผู้พูดรับผิดชอบอยู่ครับ 

4. คนฟังจะเชื่อ ถ้าเค้าไม่ถูกบังคับ 

การกำหนดให้มีกิจกรรมใดๆ หรือการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ฟังอยากจะมีส่วนร่วม ไม่ควรเป็นการบังคับครับ ควรมีส่วนให้ผู้ฟังได้มีอิสระในการเลือกด้วย เช่น การมี Option ของโจทย์ หรือการร่วม Vote กิจกรรมที่คนฟังสนใจครับ ก็จะทำให้กิจกรรมต่างๆนั้นดูไม่เป็นการบังคับจนเกินไป 

5. คนฟังจะเชื่อ ถ้าคุณมีลักษณะเหมือนเค้า 

ข้อนี้สำคัญมากๆๆๆๆครับ จำได้ว่าเคยเขียนไว้ทีนึง เรื่องของการ "ตกหลุมรัก ในการนำเสนอ" เพราะมนุษย์มักจะชอบคนที่มีลักษณะคล้ายเราครับ ดังนั้น Trick ตรงนี้คือ ทำยังไงก็ได้ ให้คนฟังรู้สึกว่าคุณคือพวกเดียวกันกับเค้าครับ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในทุกอย่างนะครับ แต่ขอให้มีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ก็ใช้ได้แล้วครับ เท่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการ "ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้" แล้วล่ะครับ 

6. คนฟังจะเชื่อ ถ้าเค้ารักคุณ 

ข้อนี้ เป็นผลพวกสุดท้ายมาจากทั้ง 5 ข้อข้างบนครับ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณ "สร้างหลุมรัก" ให้คนฟังตกลงมาได้แล้ว ไม่ว่าคุณจะเล่าอะไรต่อไป ก็ได้ทั้งหมดแล้วล่ะครับ 

เพราะการนำเสนอ ไม่ใช่เรื่องของเนื้อหาเพียงอย่างเดียวครับ คนฟังคือศูนย์กลางของจักรวาลนี้ ดังนั้น คนพูด หรือคนนำเสนอเอง ควรจะต้องทำยังไงก็ได้ ให้คนฟังรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญที่สุด เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทำทั้ง 6 ข้อนี้ได้ก่อนการนำเสนอ หรือการเล่าเรื่องจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อนั้น คุณก็คุมจักรวาลการนำเสนอนี้ได้แล้วล่ะครับ 

----------------------------------------------------

อ.ดร.ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ 

www.presentation-academy-thailand.com

www.facebook.com/powerpoint100lemgwean

presentationacademythailand@gmail.com 


 พรีเซนท์แทบตาย สุดท้ายเค้าไม่จำ ต้องทำยังไง??

เมื่อเราทำพรีเซนท์ไว้ดีมากๆ เรียงร้อยข้อมูลมาเป็นอย่างดี แต่พอเอาไปนำเสนออีกที คนดูกลับจดจำอะไรไม่ได้เลย เป็นเพราะอะไรกัน??

บางทีมันก็ดูเหมือนจะเสียแรงเปล่าครับ ที่เราอุตส่าห์นั่งทำข้อมูลมาเป็นอย่างดี คิดว่ามันต้องว้าวแน่ๆ ดึงดูดความสนใจแน่ๆ สไลด์มาอย่างคิดแล้วคิดอีก แต่...หนึ่งตัวชี้วัดที่ดูจะมีประโยชน์มากที่สุดตัวนึงก็คือ "แล้วหลังจากเราพรีเซนท์จบแล้ว คนฟังจำสิ่งที่เรานำเสนอไปได้มั้ย" หรือ "เค้าจำได้นานแค่ไหน" อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า การนำเสนอนั้นๆมีความ Effective รึเปล่าวด้วยนะครับ 

สมองคนเรามีความขี้เกียจอยู่ในตัวเอง

ใช่ครับ..... หากว่าคุณเป็นคนนึงที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ อ่านหนังสือแล้วง่วง อยากจะหาทางลัด ทำอะไรให้เสร็จเร็วๆ ฯลฯ นั่นก็คือ คุณมาถูกทางแล้วครับ สมองคนเรามีความขี้เกียจอยู่ในตัวเอง ดังนั้น มันจะส่งผลต่อการ "รับฟัง" การนำเสนอ หรือการพูดด้วยเช่นกัน รวมถึงสมองคนเราก็มีขีดจำกัดอยู่ด้วยในเรื่องของความจำครับ อย่างที่ประโยคในหนัง (เคย) ดัง ประโยคนึงพูดไว้ว่า "....ไม่ลืมไม่มีหรอก มีแต่ลืมช้าหรือลืมเร็ว แค่นั้น.." 

ในเรื่องความจำ นักจิตวิทยาก็เลยมีการนำเสนอทฤษฎี Cognitive Load Theory (CLT) เพื่อมาทำการอธิบายว่า อะไรกันที่จะทำให้สมองจดจำได้นานขึ้นครับ ซึ่งทฤษฎีนี้ระบุไว้ถึงความสามารถของสมองในสามทิศทาง คือ Intrinsic Load, Extraneous Load, และ Germane Load ครับ (อย่าเพิ่งตกใจ เดี๋ยวอธิบายให้ฟัง) 

Intrinsic Load - อะไรยากไป ไม่จำ 

ก็อย่างที่บอกไว้ครับ ว่าสมองเรามีความขี้เกียจอยู่ในตัวเอง ดังนั้นอะไรก็ตามที่ "ง่ายกว่า" จะเป็นที่จดจำได้ "มากกว่า" ดังนั้น ในงานนำเสนอ ผู้นำเสนอควรทำการ "ย่อย" ข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายลง ทำให้เป็นขนาด Bite Size ก็จะช่วยให้เกิดการจดจำที่มากขึ้นครับ ในส่วนนี้ ถ้าเป็นสไลด์ ในหนึ่งหน้าก็ควรจะมีแค่เนื้อหาหลักเรื่องเดียว ไม่ซับซ้อน ไม่เป็นพรืด ก็จะช่วยให้เกิดการจดจำได้มากขึ้นครับ 

Extraneous Load - นำเสนอไม่ดี ไม่จำ 

นอกจากการย่อยข้อมูลแล้ว การนำเสนอที่เหมาะสมและควรค่าแก่การจดจำ ก็ต้องเกิดจากการ "ร้อยเรียง" อย่างเป็นลำดับและติดตามได้ด้วยครับ ด้วยเหตุนี้ การใช้ "เรื่องเล่า" หรือว่า Storytelling เข้ามาช่วยในการนำเสนอ จึงเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจดจำครับ มีงานวิจัยพบว่า การนำเสนอโดยเรื่องเล่า จะทำให้คนจำได้มากกว่าการนำเสนอข้อมูลเพียวๆ ถึง 65% ด้วยกัน ดังนั้น สิ่งที่ควรนำคือ ย่อยข้อมูลแล้ว ก็ต้องร้อยเรียงให้รู้เรื่องด้วยครับ 

Germane Load - เชื่อมโยงไม่ได้ ไม่จำ 

อีกอันนึงคือ การ Connect the Dots ของผู้ฟังครับ หากข้อมูล เนื้อหาหรือการเล่าเรื่องราวต่างๆในงานนำเสนอนั้น ไม่สามารถถูกเชื่อมโยง เข้ากับประสบการณ์ของผู้ฟังได้ สมองก็จะไม่จำเท่าไหร่ครับ อันนี้เป็นอีกความลับนึงในการนำเสนอครับ หมายความว่า การนำเสนอให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้นำเสนอก็ต้องรู้จักผู้ฟังดีประมาณนึง ที่จะสามารถร้อยเนื้อหานี้ให้เกิดการเชื่อมโยงเข้ากับผู้ฟังได้ด้วยครับผม 

สามส่วนนี้ เป็นความลับของสมองมนุษย์ที่จะทำให้การนำเสนอครั้งต่อไปของทุกคนนั้น สามารถประทับรอยไว้ในสมองของผู้ฟังได้ครับ เมื่อการนำเสนอจบลงไปแล้ว เนื้อหาหรือข้อมูลต่างๆที่เราพยายามทำมาข้ามวีค ข้ามเดือน ก็จะเข้าไปอยู่ในความจำของผู้ฟังได้ครับ อย่างน้อย เค้าก็ได้อะไรกลับบ้านไป หลังจากที่การนำเสนอจบลง ลองเอาไปใช้ดูนะครับ 

--------------------------------------------------------
อ.ดร.ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ 
www.presentation-academy-thailand.com
www.facebook.com/powerpoint100lemgwean
presentationacademythailand@gmail.com 

Monday, July 27, 2020

ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่ "เสน่ห์" สร้างกันได้


ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่"เสน่ห์"สร้างกันได้

ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่ "เสน่ห์" สร้างกันได้


เชื่อว่า....หลายๆคนน่าจะเคยมีภาพจำว่า การที่คนจะชอบเวลาเรานำเสนอ หรือพูดจาอะไรก็ตาม เรื่อง "หน้าตา" สวยหล่อเท่เป็นสิ่งสำคัญครับ แต่วันนี้ อยากจะบอกว่า มันก็ไม่ขนาดนั้นเสมอไป เราจะเห็นได้บ่อยๆ บางคน สวย หล่อ เท่ แต่ทว่า ไม่เป็นที่น่า "จดจำ" หรือ "ประทับใจ" แล้วเราจะทำยังไงดีมันเป็นแบบนั้น 


สิ่งนี้เรียกว่า "ความมีเสน่ห์" ครับ ความมีเสน่ห์จะทำให้เราเป็นที่น่าประทับใจ น่าจดจำ กว่าความสวย หล่อ หรือเท่ ที่เราเข้าใจกัน อันดับแรกต้องบอกว่า เราก็สามารถสร้าง "เสน่ห์" เหล่านี้ได้เหมือนกันครับ เรียกว่าไม่ต้องพึ่งพาหมอศัลยกรรม ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก ด้วยการฝึกฝน และลองทำบ่อยๆ วันนี้เลยขอหยิบการสร้างเสน่ห์พื้นฐาน 3 ประการ มาให้ทดลองทำกันดูครับ แล้วต่อไป คุณเองจะเป็นที่น่าประทับใจ ทุกครั้งที่คุณพูดเลยล่ะครับ 

1. คนเราชอบคนที่เหมือนตัวเอง 
อันนี้ เป็นหลักการเชิงจิตวิทยาอย่างนึงครับ การสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟัง หรือผู้พบเห็น ประการแรกคือ ต้องเข้าใจก่อนว่า คนเรามักจะชอบคนที่เหมือนตัวเอง ทั้งทัศนคติ การวางตัว ระดับภาษาที่ใช้ ไปถึงท่าทางต่างๆ ดังนั้น การนำเสนอ การพูดจาในที่สาธารณะ (หรือแม้จะไม่สาธารณะ) ผู้พูดควร "สังเกต" ผู้ฟังก่อนครับ ว่าเค้ามีการวางตัว ท่าทาง หรือภาษาที่ใช้ยังไง แล้วลอง "ตาม" สิ่งเหล่านั้น ทั้งการวางท่าทาง ระดับภาษา พูดง่ายๆคือ ลองทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง อยู่ในระดับใกล้เคียงกันครับ คนฟังจะรู้สึกว่าคุณเป็น "พวกเดียวกัน" กับเขา ความประทับใจเริ่มขึ้นตรงนี้ครับ 

2. แสดงออกถึงความจริงใจทุกครั้ง 
ท่าทาง รอยยิ่ม ต่างๆ สามารถบ่งบอกถึงความจริงใจได้ด้วยนะครับ และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ Action Speaks Louder Than Words อย่างที่ทุกคนรู้ครับ การแสดงออกทางร่างกาย จะเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่งว่า คุณจริงใจหรือเปล่า รอยยิ้มที่แสดงออกทางดวงตา มากกว่าริมฝีปาก การผายมือออก การแสดงออกว่าคุณไม่ได้ซ่อนอะไรไว้เบื้องหลัง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟัง ไว้เนื้อเชื่อใจ และไว้วางใจผู้พูดได้ ก่อให้เกิดความ "จดจำได้" ตามมาครับ 

3. การกล่าวชมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
เชื่อมั้ยครับ ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการกล่าวชมใครซักคนในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น การกล่าวชมสีเสื้อ ต้มหู หรือแม้แต่เนคไท ของอีกฝั่ง คุณจะกลายเป็นคนที่มีเสน่ห์ทันที เพราะคุณ "ใส่ใจ" คู่สนทนาครับ คุณเองก็สามารถเริ่มต้นการสนทนาด้วยสิ่งนี้ได้ และคุณก็จะเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้ฟัง ตั้งแต่การนำเสนอยังไม่ได้เริ่มต้นด้วยซ้ำครับผม ดังนั้น จากตรงนี้ไป เสน่ห์ของคุณก็จะสร้างได้ไม่ยากเลยครับ 

ย้ำอีกครั้งว่า เสน่ห์ ไม่ได้ขึ้นกับความสวยหล่อครับ หลายๆครั้งที่เราพบว่า คนนั้นสวยจัง คนนี้หล่อจัง แต่ไม่น่าจดจำ ไม่น่าประทับใจ เพราะว่า เสน่ห์ คืออีกเรื่องนึงครับ ใครๆก็มีเสน่ห์ได้ ไม่ต้องไปจองคิวศัลยกรรมให้เสียสตางค์ครับผม ลองเอาไปใช้ดูนะครับ แล้วการสนทนาครั้งใหม่ คุณจะ "เข้าไปอยู่ในใจ" คนฟัง ตั้งแต่การนำเสนอยังไม่เริ่มครับ 

----------------------------------------------------------------------------
อาจารย์ ดร. ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean 


Sunday, July 5, 2020

Filter on IG and Depression




คุณนำเสนอ "ความซึมเศร้า" ที่มี  

ผ่าน Filter ใน IG อยู่รึเปล่า


IG หรือ Instagram เป็น Social Media อีก Platform นึงที่ใครหลายๆคนใช้กันครับ จากสถิติในปี 2020 พบว่า IG มีความนิยมของผู้ใช้ Social Media อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดผู้ใช้งานถึง 1,000 Billion บัญชีครับ (ตามมาด้วย TikTok ที่ 800 Billion บัญชี) ก็นับว่าไม่น้อยครับ ซึ่งความมีเสน่ห์ของ IG ก็คือการที่เราสามารถลงรูปได้ด้วย Filter หลากหลาย ที่ทางแอพพลิเคชั่นมีไว้ให้ หรือจะแต่งเพิ่มนิดๆหน่อยๆ ด้วยการดึงสี ดึงความสด ความซีด ก็แล้วแต่ความ "คุมโทน" ของแต่ละคน แต่ว่า.....ภายใต้ Filter เหล่านั้น เชื่อมั้ยครับว่าเรากำลังนำเสนอตัวตนอะไรบางอย่างของเราอยู่ลึกๆ


Andrew Reece จากมหาวิทยาลัย Harvard University สนใจเรื่องนี้ครับ และเค้าตั้งสมมติฐานไว้ลึกๆว่า การใช้ Filter ปรับสี ปรับแสง ปรับรูปใน IG มีความสัมพันธ์บางอย่างกับความ "ซึมเศร้า" ที่ซุกซ่อน อยู่ข้างในใจเรา Reece เริ่มต้นศึกษาด้วยวิธีการเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 500 คนครับ และให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 500 คนที่มี IG Account ของตัวเอง ได้ทำการตอบแบบสอบถามทางจิตวิทยา จากผลดังกล่าว พบว่า 170 คนจากทั้งหมด ระบุว่าตัวเองมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และ 70 คนจาก 170 นั้นกำลังได้รับการรักษาอยู่ 


อ่ะ...พอได้อย่างงี้แล้วก็ ทดไว้ในใจก่อน จากนั้น Reece ก็ลองเลือกรูปภาพมาจาก IG มาใช้วิเคราะห์ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เค้าก็มีการจัดอันดับ ด้วยคำถามวัดความชอบ ความพึงพอใจต่อรูปภาพ ด้วยการใช้แบบสอบถาม แบบ 5 4 3 2 1 ครับ จากรูปภาพมากกว่า 40,000 ภาพ Reece จัดอันดับ 100 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุดจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ระบุว่ามีความซึมเศร้า และอีก 100 อันดับแรกจากกลุ่มที่ระบุว่าซึมเศร้า จากนั้นก็นำรูปทั้ง 200 รูปดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ สี ความสดของสี รวมถึง Filter ที่ใช้ครับ 


พบว่า.... ผู้ที่โพสต์รูปภาพที่ออกโทน ซีดๆ เทาๆ น้ำเงินๆ มีความเกี่ยวพันกับความเป็นซึมเศร้าที่อยู่ในจิตใจได้ครับ ในขณะเดียวกัน คนที่ใช้รูปสีสดๆ ก็จะมีความเกี่ยวพันกับความเป็นปกติมากกว่า ซึ่ง Reece พบลักษณะ Filter ที่มีผลเกี่ยวพันกับการนำเสนอความซึมเศร้าในใจ คือ Inkwell ครับ 

Figure1:
รูปภาพสีปกติ เมือเทียบกับ Filter Inkwell

ซึ่ง Inkwell เป็น Filter ที่ทำให้สีของภาพนั้น กลายเป็นขาว เทา ดำ อย่างชัดเจนครับ ในขณะเดียวกัน Filter สำหรับคนที่ไม่ได้ระบุว่ามีความซึมเศร้า คือ Valencia ครับ 

รูปภาพสีปกติ เมื่อเทียบกับ Filter Valencia 

และ.... มากไปกว่านี้คือ Reece พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มจะโพสต์รูปใบหน้าของผู้คน (อื่นๆ) น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะความซึมเศร้าด้วยครับ (อ้าว ....ชิบ-ายละทีนี้ ใน IG มีแต่รูปตัวเอง) 

เอาเป็นว่า ก็เป็นการเก็บข้อมูลเล็กๆน้อยๆครับ เอาไว้สังเกตตัวเองกันได้ ลองเปิด IG แล้วเช็คดูอีกทีซักหน่อยครับ เพราะไม่แน่ว่า การนำเสนอตัวตนของเราบนโลกออนไลน์ อาจจะกำลังสะท้อนอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ครับผม 


ที่มาข้อมูล
------------------------------------------------------
อ.ดร.ธีร์ธวัช  เจนวัชรรักษ์
PRACT: Presentation Academy Thailand
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean 

Friday, June 19, 2020

เล่าเรื่องยังไงให้คน "หลงรัก" ด้วย Product ที่เป็น "สถานที่"



เล่าเรื่องยังไง ให้คน "หลงรัก" ด้วย Product ที่เป็น "สถานที่"


เคยไปดูโครงการบ้านจัดสรร หรือ คอนโดมิเนียม แล้วพนักงานขายให้เราเข้าไปเดินในบ้านตัวอย่าง หรือ ห้องตัวอย่างที่แต่งเสร็จแล้วมั้ยครับ?? เพราะการขาย Product ที่เป็น "สถานที่" มันคือการ "ขายฉาก" ในการเล่าเรื่องครับ 

งั้น....ผมขอเริ่มเล่าพื้นฐานให้ฟังก่อนแล้วกันครับ จะได้ไม่สงสัย ว่าทำไมถึงเรียกว่าการ "ขายฉาก" ในการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling ที่เราคุ้นเคยกัน เรื่องราวจะน่าจดจำ น่าประทับใจ หรือน่า "หลงรัก" มักจะประกอบไปด้วย 5Ps ที่จะทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเล่าเรื่องใดๆครับ 

P แรกคือ People - ตัวละคร 
เรื่องราวจะดำเนินไปได้อย่างไร หากไม่มีตัวละคร ตัวละครจะถูกกำหนดให้มี Characters บุคลิก ลักษณะ นิสัย ทัศนคติ ความเข้าใจโลก ความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่แตกต่างกันหรือคล้่าย หรือเหมือนกันกับตัวละครอื่นๆก็ได้ครับ 

P ที่สอง คือ Place - สถานที่ 
P นี้คือ "ฉาก" นั่นแหละครับ แต่ลึกๆแล้ว มันไม่ใช่แค่สถานที่ครับ แต่มันหมายถึงช่วงเวลาของสถานที่นั้นๆ บริบททางสังคมในสถานที่นั้นๆ วัฒนธรรม บรรยากาศในสถานที่นั้นๆด้วยครับ 

P ที่สาม คือ Plot - การเดินเรื่อง 
เรื่องราวจะดำเนินไปอย่างไร พระเอกกับนางเอกจะได้รักกันมั้ย ใครตีกับใคร ใครผ่านอะไรมา ใครจะทำอะไรที่ไหน สิ่งเหล่านี้เป็น Plot ทั้งสิ้นครับ

P ที่สี่ คือ Point - ประเด็นของเรื่อง 
ตอนเด็กๆเรามักจะได้ยินคำว่า "เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...." หลังจากฟังนิทานจบใช่มั้ยครับ นั่นคือ Point ที่คนฟังได้รับจากเรื่องเล่า มันอาจจะมีสาระมากๆ เหมือนเรียนคณิตศาสตร์แล้วเข้าใจพื้นที่ หรือมันอาจจะเป็นความสนุก ความประทับใจ ความสะดวกสบาย ต่างๆเหล่านี้ที่ติดตัวเราออกไป หลังจากเรื่องจบลง 

P สุดท้าย คือ  Perspective - มุมในการเล่าเรื่อง 
เรื่องเดียวกัน ถ้าเล่าจากมุมที่ต่างกัน เรื่องก็อาจจะให้เราเห็นอะไรที่แตกต่างกันก็ได้ครับ มุมในการเล่าเรื่องก็มีผลว่าเราอยากจะให้คนดู คนฟัง มองเห็น หรือเข้าใจมุมมองของใครครับ

-----------------------------------------------------

แล้ว...มันเกี่ยวอะไรกับการเล่าเรื่องแบรนด์ หรือสินค้าของเรา ??

 โดยปกติแล้ว ถ้าเรามีสินค้าอะไรซักอย่างนึง สินค้าของเราจะทำหน้าที่เป็น People ในเรื่องที่เราจะไปเล่าให้คนอื่นฟัง หรือไปเล่าแบรนด์ให้คนอื่นฟัง เรามักจะต้องกำหนด บุคลิกลักษณะ Brand Personality / Archetypes ของสินค้าเราให้ชัดเจน (จำได้ว่าเคยโพสต์ไว้แล้วครับ) ซึ่ง....มันลามไปถึง เวลาเราต้องถ่ายรูป เพื่อ Display สินค้า เราก็ต้องหา Props หาฉาก หาแสง (Place) ให้เข้ากันกับบุคลิกลักษณะของสินค้าที่เราวางไว้ใช่มั้ยครับ เพื่อให้มัน "ส่งเสริมกัน" จากนั้น .....เรื่องราว มุมมองต่างๆ ก็สามารถถูกเล่าผ่านตัวหนังสือได้ต่อไป

ทีนี้กลับมาที่ บ้านและคอนโดครับ แน่นอนว่า โครงการเหล่านั้นก็ต้องการจะขาย Product เหมือนกับสินค้าอื่นๆ เพียงแต่ ... Product ที่เค้ามี มันเป็น P ที่สอง (Place) ไปแล้ว แล้วจะเล่ายังไงให้คน "หลงรัก" กันดี

----------------------------------------------------

"สินค้า" ที่ถูกเล่ามา ให้คนฟังรู้สึกได้ว่า เป็น "ตัวละคร" 

เมื่อ Product มาเป็นสถานที่ การเล่าเรื่องที่ดีมากๆคือ การทำให้สถานที่นั้น เรียก "ตัวละคร" ครับ กลับมาที่บ้านและคอนโด ห้องตัวอย่างเหล่านั้น จะตกแต่งไว้ตาม Characters ของผู้อยู่อาศัย "ที่ควรจะเป็น" เช่น ถ้าเป็นบ้าน วัสดุ Prop ที่เอาเข้ามาใช้ ก็จะเน้นไปที่ความอบอุ่น การอยู่ร่วมกัน ในขณะที่คอนโดก็จะตกแต่งไว้เฉี่ยวๆหน่อย เพื่อให้ "คนที่เข้ามาดู" จินตนาการได้ว่า หากเขาต้องเป็น "ตัวละคร" อยู่ในฉากนี้ เขาจะต้องเป็นใคร ทำอะไร บุคลิกยังไง ต่างๆครับ เป็นการคิดกลับกันจาก Product ปกติ 

ไม่ใช่แค่บ้านและคอนโดครับ ใครที่ทำร้านกาแฟ คาเฟ่ โรงแรม พิพิธภัณฑ์ หรืออะไรก็ตามที่ต้องขายความ "มีชีวิต" ขาย Place as a Product ลองสังเกตดูก็ได้ครับว่า สถานที่เหล่านี้จะดึงดูดผู้คนได้มากเป็นพิเศษ หากคนที่เห็นแล้วนึกออกทันทีว่า เค้าจะต้องแต่งตัวยังไง เอาพร็อพอะไรไปถ่ายรูปด้วย ชุดต้องพลิ้วมั้ย หรือเข้าไปต้องเป็นเจ้าชาย เจ้าหญิง ต่างๆ เพราะว่า Place เหล่านี้ กำลัง "เล่าเรื่องราว" เพื่อ "รอตัวละคร" ที่จะเข้ามาโลดแล่นนั่นเองครับ 

-------------------------------------------------------

Case Study: Villa Musee & ร.ศ.๑๑๑ คาเฟ่

สองตัวอย่างที่ผมเห็นว่ามีความชัดเจนในการวางเรื่องเล่าไว้แล้ว รอเพียงเหล่าตัวละครเข้าไปลองใช้ชีวิตในนั้นซักวันสองวัน (หรือมากกว่า) คือที่ วิลล่า มูเซ่ (Villa Musee) และ ร.ศ.๑๑๑ คาเฟ่ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ครับ แน่นอนว่าที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (จริงๆ เค้าเป็นโรงแรมที่พักด้วยนะครับ ในพื้นที่เดียวกันแต่แยกโซนกันอย่างดี) ความดีงามของที่นี่คือ การซ้อนชั้นเข้าไป ด้วยการนำเอาตึกเก่าอาคารเก่าที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ คือ มี Story เดิมอยู่แล้ว ยกย้ายมาไว้ที่นี่ โดยยังคงรูปแบบของอาคารเดิม ความขลัง ความมีเรื่องเล่าเดิมไว้ แล้วซ้อนชั้นเข้าไปด้วยการสร้างตัวละครสมมติขึ้นมาอีกชั้นนึงครับ ซึ่งทำให้ข้าวของ Prop ต่างๆ ถูกวางไว้เหมือนกับตัวละครคนนั้น ยังมีชีวิต และ "ใช้ชีวิต" อยู่ แล้วคุณเองก็เข้าไป Share ยุคสมัยกับตัวละคร (เหล่า) นั้นครับ 

บรรยากาศต่างๆของสถานที่ ร้อยเรียงเล่าเรื่องของมันเข้าหากันอย่างสมดุลครับ เมื่อไหร่ก็ตามที่คนดูเห็นสิ่งเหล่านี้ แล้วมีภาพขึ้นมาในหัวทันทีว่า "ต้องใส่ชุดอะไรไปถ่าย ถึงจะเข้ากัน" หรือ "ต้องยืนถ่ายรูปตรงไหน นั่งตรงไหนถึงจะว้าว" นั่นแหละครับ สถานที่เค้าได้เรียกร้องให้คุณเป็นตัวละครให้เค้าแล้ว  








นอกจาก Scale ใหญ่แบบนี้จะทำได้แล้ว ร้านกาแฟเล็กๆก็ทำได้นะครับ (เดี๋ยวหาว่าไม่ยกตัวอย่างร้านกาแฟบ้าง) ในนี้มี ร.ศ.๑๑๑ ครับ เป็นคาเฟ่ที่ขาย Place เช่นกัน แต่เค้าก็ไม่ได้ขาย Place อย่างเดียว เพราะว่าการเล่าเรื่องก็ลามไปหาเมนูต่างๆในร้านด้วยนะครับ เล่าก่อนว่า ร.ศ.๑๑๑ เป็นฉากแบบจีนโบราณครับ แน่นอนว่า องค์ประกอบทุกอย่างจะเล่าเรื่องไปหาความเป็นจีนโบราณ เหลือก็แต่ ตัวละครที่จะมานี่แหละครับ หลักการเดียวกันเลย ชื่อเมนูที่มีก็เป็นจีนไปด้วยครับ เล่าเรื่องเดียวกันให้ชัด ไปให้สุด พอเรื่องที่เราเล่าผ่าน Place มันไปด้วยกันแล้ว ....ที่เหลือ ก็คือ "ตัวละคร" ที่จะมานี่แหละครับ ก็จะนึกออกปั๊บเลยว่าต้องเป็นตัวละครยังไง เพราะว่าเรื่องราวมันถูกเล่าผ่าน Product ที่เป็น Place ไปแล้วครับ 









เพราะการ "เล่าเรื่อง" อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ครับ เราหนีออกจากการเล่าเรื่องไม่ได้ ไม่เคยได้ และไม่มีทางได้ การปรับการเล่าเรื่องให้เข้ากับแบรนด์ ก็เป็นอีกวิธีนึงที่จะทำให้แบรนด์ (สินค้า บริการ สถานที่) เป็นสิ่งที่ผู้คนจะ "หลงรัก" ได้ไม่ยากครับ 

ใครที่ทำร้านกาแฟอยู่ หรืออยากทำร้านกาแฟ ลองสำรวจกันก่อนครับว่า Place ที่เรา(จะ)มี พร้อมเล่าเรื่องราวดีๆหรือยัง?? ทำให้ตัวละครที่จะแวะเวียนเข้ามา "เหลือแค่คิด ว่าจะใช้ชีวิตยังไง" สิครับ 

-----------------------------------------------
ขอขอบคุณ Villa Musee (วิลล่า มูเซ่) และ ร.ศ.๑๑๑ คาเฟ่ เอื้อเฟื้อสถานที่ครับ 
ปล. เค้ามีเฟซบุ๊กอยู่ด้วยครับ ถ้าจะไปจองก่อนก็ดีนะครับ ที่นี่ Exclusive จริงๆ อยากจิบอก 

อาจารย์ ดร. ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ 
PRACT - Presentation Academy Thailand
089-635-6691
Youtube: Powerpoint100lemgwean
Soundcloud: Powerpoint100lemgwean









Wednesday, May 20, 2020

ทำ Slide ยังไง? ให้ "เรียนออนไลน์" แล้วไม่บั่นทอน




ทำ Slide ยังไง? ให้ "เรียนออนไลน์" แล้วไม่บั่นทอน


เอาล่ะ... เรื่องร้อนตอนนี้ก็คงมีไม่กี่เรื่องครับ หนึ่งในนั้นคือเรื่อง "การเรียนออนไลน์" ที่ดูจะเป็นประเด็นอยู่ไม่มากก็น้อย ทั้งในเรื่องความพร้อม อุปกรณ์ สัญญาณการเชื่อมต่อ และ "ความบั่นทอน" สุขภาพจิตผู้เรียน (และผู้ปกครอง) แน่นอนว่าเมื่อผู้เรียนไม่ได้อยู่ในชั้นเรียนปกติ และต้องนั่งมองหน้าจออุปกรณ์อยู่อย่างนั้น ความบั่นทอนก็เกิดขึ้นได้อยู่แล้วเป็นธรรมดาครับ ยิ่งคุณครูเปิด Slide ที่อุดมไปด้วยเนื้อหาอย่างกับยกสารานุกรมมาถมลงในแอพพลิเคชั่น คนเรียนก็ยิ่ง "บั่นทอน" กันเข้าไปใหญ่ 

ออกตัวก่อนว่า ผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยนะครับ แต่สิ่งที่อยากให้คุณครู หรือผู้สอน ลองเอาไปปรับใช้ดู น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน (หรือแม้กระทั้งการนำเสนอ) ออนไลน์ได้บ้าง ตามหลักจิตวิทยาการรับรู้ของมนุษย์ครับ เพื่อประโยชน์กับเด็กๆ และการเรียนออนไลน์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มรูปแบบได้ในอนาคต มาดูกัน ว่าเราทำอะไรได้บ้างครับผม 

1. คิดก่อนว่า Slide หน้านี้ต้องให้เห็นอะไร

อย่าเพิ่งถมทุกสิ่งอันลงไปใน Slide นะครับ เพราะถ้าเราถมไปหมดแบบนั้น นอกจากมันจะไม่ชวนเรียนแล้ว ยังเป็นการทำให้ผู้เรียนไม่ได้มีโอกาส "ฟัง" สิ่งที่ครูพูดด้วยครับ เพราะผู้เรียนจะนั่งอ่านสิ่งที่มันเป็นตัวอักษรทั้งหมดตรงนั้น และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวินาทีต่อไปคือ "ความเบื่อหน่าย" ไม่อยากเรียน เพราะไม่อยากอ่านครับ เรามักจะชอบ "ฟัง" มากกว่า "อ่าน" เพราะอ่านใช้สมองเยอะกว่า ใช้สายตาในการประมวลผล ดังนั้น ลองคิดซักนิดก่อนครับว่า ในหน้านั้น อะไรคือ Key สำคัญที่ต้องเห็น และต้องเน้น ส่วนที่เหลือ เป็นครูมาเล่าให้ฟังเสริมไป น่าจะช่วยได้กว่าครับ 

2. บอกลา Background ลายดอกไม้ไปก่อน

อ่ะ.... อย่าเพิ่งครับ เพราะว่า Background ที่คุณครูเลือกมา โอเค ครูอาจจะบอกว่า มันก็สวยดี แต่.... มันอาจจะเป็นตัวการทำให้ Slide ของคุณครูดูรกหูรกตาไปกว่าปกติครับ อย่าลืมว่าในวันนี้ เด็กๆไม่ได้มีโอกาสมองสิ่งอื่นนอกจากจอเล็กๆตรงหน้าครับ ดังนั้น การทำ Slide ให้คลีนก่อนในเบื้องต้น จะช่วยได้มากให้การเรียนการสอนไม่ถูกรบกวนโดยดอกลาเวนเดอร์ ที่ครูเลือกมาครับ 

3. ค่อยๆ Click ค่อยๆขึ้น 

การเรียนออนไลน์ยังไงก็ไม่เหมือนในห้องครับ สติ สมาธิ ของคนดูคนเรียนหลุดได้ง่ายกว่ามาก เพราะมันมีแค่หน้าจอเล็กๆเท่านั้นครับ ดังนั้น คุณครูอาจจะต้องทำตัวเป็น "คนเล่าเรื่อง" เล่าถึงตรงไหน ค่อยคลิกให้นักเรียนได้เห็นสิ่งนั้น ก็จะทำให้เกิดความน่าติดตามมากกว่าการเทกระจาดลงไปให้เห็นทั้งหมด นึกภาพเวลาเราดูหนังครับ เราคงไม่อยากให้ใครมา Spoil ว่ามันจะมีอะไรบ้างถูกต้องมั้ยครับ งาน Slide ก็เช่นกัน ครูอาจจะต้องวางหมากเพิ่มนิดหน่อยในส่วนนี้ครับ 

4. รูปภาพถ่ายสื่อสารได้ดีกว่า 

ถ้าจะใช้รูปภาพเพื่อทำให้เห็นตัวอย่าง หรือเกิดอารมณ์ความรู้สึก แนะนำให้ใช้ภาพจริง (ภาพถ่าย) ครับ และพยายามอย่าใช้ลักษณะภาพที่หลากหลายเกินไป เช่น การ์ตูนบ้าง ภาพถ่ายบ้าง ขาวดำบ้าง สีบ้าง ภาพวาดบ้าง ควรเลือกและใช้ให้ไปในทางเดียวกันเลยครับผม ก็จะช่วยให้งาน Slide น่าติดตามขึ้นได้ครับ และไม่สะเปะสะปะด้วยครับ 

5. เปลี่ยนฟ้อนท์ให้แปลกตาขึ้นบ้าง

คุณครูอาจจะต้องเลิกใช้ฟ้อนท์ อังสนา หรือ สารบรรณ ไปก่อนครับ เพราะฟ้อนท์เหล่านั้น เด็กๆเจอบ่อยแล้วตามหน้าหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ครั้นมาเจอกันใน Slide อีก ก็อาจจะน่าเบื่อกันเข้าไปใหญ่ได้ครับ ลองปรับฟ้อนท์มาเป็นแบบไม่มีหัวดูบ้าง ก็อาจจะช่วยให้เด็กๆมีความสนใจ และอยากรู้ อยากติดตามเพิ่มขึ้นได้บ้างครับผม 

ทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นพื้นฐานง่ายๆที่คุณครูสามารถทำได้ครับ จริงอยู่ ว่าคุณครูแต่ละท่านอาจจะไม่ได้ถนัดมากสำหรับการเรียนออนไลน์ที่เข้ามามีผลในช่วงนี้ครับ แต่ยังไงก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้้ ก็ถือได้ว่าเป็นการ "เริ่ม" ปรับตัวอีกระดับหนึ่งครับ ผิดถูกไม่เป็นไรครับ ลองทำดูก่อน แล้วลองดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนนั้น เป็นยังไงบ้าง และแน่นอนว่า Slide อย่างเดียว อาจจะช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ อีกส่วนหนึ่งจะมาจากการพูด การสอน การนำเสนอของคุณครูเอง คุณครูอาจจะต้องใช้พลังมากกว่าปกติในการสื่อสาร หรือสอนในระบบทางไกล และออนไลน์แบบนี้ครับ มันจะเหนื่อยกว่าปกติไม่ต้องตกใจครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่า เราทำได้เพียง Interact กับหน้าจอเท่านั้น เด็กๆก็เช่นกัน การที่จะให้เด็กๆรับพลังจากเราไปได้ เราต้อง "เล่นใหญ่" กว่าปกตินิดนึงครับผม 

สู้ๆนะครับ :) เราจะผ่านมันไปด้วยกันครับ 

--------------------------------------------
รายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม
PRACT - Presentation Academy Thailand

Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean

preentationacademythailand@gmail.com

Sunday, May 3, 2020

ไม่ได้ถือแค่หัวใจ!! อยากให้น้อง Care ถืออะไร เลือกมาได้เลย!!


นาทีนี้ หลายคนคงมีโอกาสใช้ Facebook Reaction ตัวใหม่ล่าสุด ชื่อน้องแคร์ (Care) กันไปบ้างแล้วนะครับ เห็นว่า ทาง FB ก็ทำขึ้นมา เพื่อเป็นไอคอนตัวแทนความห่วงใย เอาใจใส่ ส่งไปถึงกัน ตัวไอคอนก็เป็นหัว Smiley สีเหลือง กอดหัวใจสีแดงไว้ 1 ดวงครับ ก็ดูน่ารักดี จนหลายคนอยากจะหยิบไปประกอบงานพรีเซนท์เทชั่นเสียเหลือเกิน 


ล่าสุด มี Web Developer ชาวไทย TheChun ก็เห็นช่องทางความอยากได้อยากมีครับ เลยทำหน้าเว็บไซท์ที่ทำให้พวกเราสามารถหาของให้น้องถือได้แบบไม่กี่คลิกเท่านั้นเอง ลองคลิกเข้าไปที่ลิงค์ด้านล่างนะครับ วิธีการไม่ยากเย็น ทำตามนี้ดูรับรองได้ผลทุกรายครับ 




ขั้นตอนที่1 หาของให้น้องถือ
ก็.... อยากให้น้องถืออะไร ก็ Upload File ลงไปได้เลยครับ ไฟล์ที่รองรับก็จะเป็น .jpg .png ก็ได้ครับผม เลือกได้เลย แนะนำเป็นภาพกราฟิกจะเข้ากับน้องมากๆครับ 

ขั้นตอนที่ 2 หมุนให้เหมาะมือน้อง
เอาไฟล์เข้าไปแล้ว เราก็สามารถที่จะหมุนของนั้นได้ครับ อยากให้หมุนทางไหนก็ปรับดูครับ

ขั้นตอนที่ 3 ปรับขนาดให้เข้ากับน้อง
ส่วนนี้ ก็ลองเลื่อนเพื่อปรับขนาดเล็กใหญ่ดูครับ ให้ของอยู่ในมือน้องได้สวยๆ 

ขั้นตอนที่ 4 เลื่อนซ้ายขวา และ ขั้นตอนที่ 5 เลื่อนบนล่าง 
ซึ่งขั้นตอนที่ 4, 5 นี้ จะแสดงผลให้เห็นๆเลยครับ ไม่ต้องกังวลไปว่าจะไม่อยู่ในมือน้อง 

จากนั้น ก็ Download Your Image คลิกได้เลยครับ ไฟล์ที่ได้มาจะเป็น .png นะครับ ซึ่งก็เอาไปใช้ในพรีเซนท์เทชั่น ได้เหมือนกันครับผม :)

ปล. ทางผู้ทำเค้าฝากบอกมาว่า เค้าเก็บข้อมูลด้วยนะครับว่าใครให้อะไรน้องถือบ้าง ดังนั้นอย่าใช้รูปที่มีความ Sensitive เลยนะครับ 

ถ้าอยากทำแล้ว ไปได้เลยที่ลิงค์นี้ครับผม

ลองทำแล้วเอามาอวดหน่อยนะครับ อิอิ
--------------------------------------------------------------
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean

Saturday, April 25, 2020


เหนือกว่า Story: Packaging ที่ดี คือพรีเซนท์เทชั่น

ที่คนตัดสินกันในแว้บแรก

เช้านี้ เชื่อว่าหลายคนเห็นดราม่า ที่เกิดจาก "แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย" ที่มีการทำออกจำหน่าย ในสนนราคา 250 บาทต่อถุงมาแล้วนะครับ ซึ่งก็ลุกลามไปถึงการเหยียดชนชั้น ราคา ความรวย ความจน อะไรแถวนั้น.... แต่ เราจะไม่แวะตรงนั้นครับ เราจะมาแวะที่งานบรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging กันก็พอครับ 

เรา "นำเสนอ" กันตลอดเวลาจริงๆนะครับ (มาย้ำอีกครั้งนึง) เพราะงานนำเสนอไม่ใช่แค่ต้องเปิดคอม ทำสไลด์ ฉายโปรเจคเตอร์ ในห้องประชุม การนำเสนอในชีวิตประจำวัน เริ่มกันตั้งแต่เราเลือกจะใส่ชุดอะไร แต่งหน้ามั้ย ทำผมยังไง การก้าวขาข้างแรกออกจากบ้าน นั่นก็คือการนำเสนอแล้วครับ ไม่ต้องพูดอะไรก็ได้ และในขณะเดียวกัน เราก็ "มองเห็นการนำเสนอ" อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ผ่านการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ โลโก้ สีสัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันที่เราต้อง Work From Home เรายิ่งเปิดรับการนำเสนอผ่าน "รูปภาพ" ต่างๆ ในโลกโซเชียลมากขึ้นเป็นพิเศษ ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่า "ซื้อ" หรือ "ไม่ซื้อ" งานนำเสนอเหล่านั้น 


เราตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ ทันทีเลยมั้ย?? 



"ไม่ครับ" 
การซื้อ หรือไม่ซื้อนั้น เป็นเรื่องของ Practice (การกระทำ) ครับ ก่อนหน้าที่จะมาถึงตรงนี้ มันมีอีก 2 ตัวที่เราข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ Knowledge (ความรู้) และ Attitudes (ทัศนคติ) ครับ ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นกระบวนการคิดและตัดสินใจของคนทั่วๆไปครับ 

Knowledge ถ้าแปลตรงตัวก็คือความรู้ ซึ่งความรู้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่อยู่ในหนังสือหนังหา ตำราเรียนนะครับ แต่มันหมายถึง สิ่งที่เรา "เห็นมา" "ได้ยินมา" "สัมผัสมา" "ชิมมา" หรือ "ได้กลิ่นมา" พูดง่ายๆคือ อะไรก็ตามที่เข้ามาสู่ร่างกายเราผ่านทวารทั้ง5 ครับ นั่นคือความรู้ในที่นี้ได้ทั้งหมด เช่น ไปได้ยินมาว่าร้านนี้อร่อย ไปเห็นมาเองว่าส่วนผสมดีมาก ฯลฯ ครับ จากนั้น พอเรา "รับรู้" แล้ว สิ่งต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ "มันดีมั้ยอ่ะ" หรือว่า ทัศนคติครับ 

ส่วนที่สอง ก่อนที่จะไปหาพฤติกรรม หรือการกระทำ คือ Attitude ครับ ส่วนนี้แหละ จะเป็นการ "ประเมินผล" สิ่งที่เราได้รับรู้มา เห็นมา ได้ยินมา แน่นอนว่า เราใช้การ ไตร่ตรอง และคิด อยู่ในส่วนนี้ครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะถามว่า "ซื้อมั้ย" คือ "มันคุ้มมั้ย"  "มันดีกับเรามั้ย"  "มันโอเคมั้ย" ประมาณนี้ครับ ซึ่งในส่วนนี้ เสียงหัวใจจะเป็นตัวบอกว่าเราโอเคหรือไม่โอเค และเราจะทำยังไงกับมัน ซื้อ ไม่ซื้อ เอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง บอกแม่ ฟ้องพ่อ อ้อนแฟนให้ซื้อให้ (เอ้า ลืมไปว่าไม่มีแฟน) ถึงขั้นไปกู้มาซื้อ (ในกรณีที่เป็นของใหญ่มากๆครับ) 

หลังจากที่เราประเมินผลจากสิ่งที่เรารับรู้มาแล้ว สิ่งสุดท้ายของห่วงโซ่นี้คือ Practice หรือ การกระทำครับ (เรียกว่าพฤติกรรมก็ได้) ถ้าเราประเมินแล้วพบว่า มันคุ้มค่า มันน่าสนใจ มันน่าจะอร่อยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ มันก็น่าลองนะ ฯลฯ เราก็จะตัดสินใจซื้อครับ แต่.... ถ้าจากข้อมูลที่เราได้รับมา แล้วเราพบว่า มันแพงไป  มันไม่น่าคุ้ม ซื้อที่อื่นถูกกว่าก็ได้ ทำเองอร่อยกว่า ฯลฯ การตัดสินใจ "ไม่ซื้อ" ก็จะเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นครับ (อาจจะมีฟีดแบคอื่นๆไปหาต้นขั้วเพิ่มเติม ก็อีกเรื่องนึง) 

กลับมาที่ดราม่าของเรากันดีกว่า ในช่วง WFH แบบนี้ แน่นอนว่า เราจะไม่สามารถ ดมกลิ่น ชิม สัมผัส ได้เลยครับ สิ่งที่เข้ามาหาเราอย่างเดียวคือ "ภาพถ่าย" ครับ และในส่วนของอาหารนั้น การสร้างสรรค์ Packaging ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้บริโภคเอามาประกอบการตัดสินใจ ว่ามันคุ้มมั้ย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ ว่า Story ที่เล่ามาก็เป็นการประกอบการตัดสินใจส่วนนึง แต่เชื่อม้ยครับว่า "สิ่งที่ตาเห็น มีน้ำหนักมากกว่า สิ่งที่เราได้ยินมา" อันนี้เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้ คนจะซื้อหรือไม่ซื้อ ขึ้นกับ "Package" ครับ 


เราไม่มีทางเห็นว่าเค้าเป็นคนดีรึเปล่าได้ในแว้บแรก 
แต่เราเห็นสิ่งที่เค้าดูแลตัวเองได้ในแว้บแรก


ถ้าพูดกัน สินค้า ก็ไม่ต่างอะไรกับคนเราหรอกครับ คนเราตัดสินคนอื่นได้ตั้งแต่ 7 วินาทีแรกที่เห็นกัน (Wilson, 2016) ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่ใช่ X-Men ที่จะสามารถมองทะลุไปในจิตใจคนอื่นๆได้ครับ 7 วินาทีแรก ทุกอย่างจะหยุดอยู่ในสิ่งที่เห็นเท่านั้น เสื้อผ้า หน้าผม รองเท้า เครื่องประดับ ....ในเรื่องสินค้า ก็เช่นกันครับ บรรจุภัณฑ์ จะเป็นสิ่งแรกๆที่คนดูจะตัดสินใจ ว่ามันคุ้มค่ากับส่วนอื่นๆมั้ย (เช่น ราคา เนื้อหา เรื่องราว ส่วนผสม รสชาติที่น่าจะเป็น) ดังนั้น ไม่ผิดอะไรครับที่เราจะตั้งราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่....อย่าลืมว่า เราต้องขายให้คนซื้อ "ตัดสินใจซื้อ" ดังนั้น ความคุ้มค่าจากสิ่งที่เห็น "แว้บแรก" จึงเป็นตัวชี้ชะตาได้มากครับ ว่าสิ่งนั้นจะขายได้รึเปล่า หรือโดนดราม่ามั้ย ครับผม 

-----------------------------------------------
www.facebook.com/powerpoint100lemgwean
www.presentation-academy-thailand.com
Youtube: powerpoint100lemgwean

presentationacademythailand@gmail.com
powerpoint100lemgwean@gmail.com 



Tuesday, April 14, 2020

ผิดมั้ย? ถ้าไม่มีเรื่องราวใหม่ให้ชีวิตในช่วง COVID - 19


ช่วงนี้ เป็นช่วงที่หลายคนต้องเผชิญบทใหม่ของชีวิตนั่นคือการ Work From Home กันไปยาวๆครับ โดยที่ไม่รู้ได้เลยว่าสถานการณ์จะกลับเป็นปกติเมื่อไหร่ หรือแม้กระทั่งพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร บ้าน/ห้อง ที่ควรจะเป็นที่สุดท้าย เพื่อเอนกายจากความเหนื่อยล้าในออฟฟิศ แต่ในวันนี้ มันไม่ใช่ บ้าน/ห้องที่เราไว้  "พักผ่อน" กลายมาเป็น "ฉาก" ที่เราต้องทำงานกันไปซะแล้ว 

แน่นอนว่า มันอาจจะฟังดูเหมือนสบาย มีเวลาเยอะขึ้น จากที่ต้องเดินทางก็ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องฝ่าฟันรถติด ไม่ต้องเดินฝ่าแดดไปกินกลางวัน ฯลฯ แต่เชื่อเถอะครับ สำหรับใครหลายคนมันไม่ได้สบายขนาดนั้น ด้วยสภาวะจิตใจที่มันไม่ปกติ การที่เราไม่สามารถไป "เจอ" ใครบางคนได้ บางคนบางความสัมพันธ์ต้องเปลี่ยนแปลงไป ความหดหู่ ห่อเหี่ยว เริ่มเข้ามาเกาะกุมจิตใจชนิดที่บอกกับตัวเองว่า ถ้าวันไหนมันกลับมาปกติเดย์ "ทะเล.....-ึงเจอ-ู"  

และในขณะเดียวกัน อาชีพ Life Coach ก็เป็นอีกตัวละครหนึ่งที่งอกเข้ามาพยายามจะบอกกับพวกเราว่า "เฮ้ย นี่ไง โอกาสมาแล้ว" มีเวลาตั้งเยอะ ทำโน่นทำนี่ได้ตั้งมาก อยากทำเพจก็ทำเลย อยากทำยูทูปก็ทำเลย อยากขายของก็ทำเลย นี่ไง!! ทำเลยเซ่".... และมีประโยคเด็ดที่ Hook ตรงมา ประมาณว่า "ถ้าหลังจากตรงนี้ไปแล้ว คุณไม่มีอะไรใหม่เลย นั่นไม่ใช่เรื่องภาวะวิกฤตินะ แต่เป็นเรื่องของวินัย" 

ผ่าม พาม!!!!!

แล้ว.... เราจะผิดมั้ย?? ถ้าเราไม่มีเรื่องราวอะไรใหม่ให้ชีวิต ในช่วง "ภาวะวิกฤติ" แบบนี้??

มา.. นั่ง ผมจะเล่าให้ฟังด้วยหลักการ "เล่าเรื่อง" ก็แล้วกันครับ 
เราทุกคนต่างเป็นตัวละครในเรื่องราวชีวิตของเรานั่นแหละ เราก็อยู่กันปกติดี แบบที่เรียกว่า Ordinary Day หรือ Ordinary World แล้วอยู่มาวันนึง "เปรี้ยง!!" มันเกิดมี Call-to-Action อันนึงปูดขึ้นมา นั่นคือ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" เอาสิ สมดุลเปลี่ยน ตัวละครตัวเดิมต้องมาสู่ "ฉาก" เดิม (คือบ้าน) แต่กลายเป็น ฟังก์ชั่นใหม่ คือต้องทำงาน 

แต่... เราทุกคนมีความแตกต่างกันด้วยธรรมชาติอยู่แล้วครับ เหมือนตัวละครที่ถูกออกแบบมาให้ต่างกัน โดยถ้าจะแบ่งใหญ่ๆ ก็จะมีอยู่ 2 ค่าย คือ ตัวละครประเภท Introvert คือ โอเค ชอบการไม่ต้องพบปะผู้คน ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขดี รู้สึกได้รับพลังเวลาได้อยู่กับตัวเอง  ในขณะเดียวกันตัวละครประเภท Extrovert จะตรงกันข้ามครับ เราจะหดหู่ อึดอัด รู้สึกเหี่ยวเฉาลงเรื่อยๆ เพราะตัวละครประเภทนี้มักจะได้รับพลังจากการไปพบปะผู้คน เปลี่ยนสถานที่ไป เจอผู้คนใหม่ๆต่างๆ อ่ะ...เอาเป็นว่า ไม่ว่าเราจะเป็นตัวละครแบบไหน เราต้องฝ่าฟันอุปสรรคนี้ไปให้รอดตลอดรอดฝั่ง ซึ่งถ้าเทียบแล้ว ในเรื่องเล่าของเรา เราจะทำหน้าที่เป็น Hero ในเรื่องครับ (ที่ต้องเจอ Villain หรือ (ตัวร้าย)อุปสรรค หมายถึงสถานการณ์นี้แหละครับ) 

ทีนี้... Life Coach เป็นใครในเรื่อง?? 
ถ้าเทียบจากการเล่าเรื่องแล้ว Life Coach ที่พยายามมากระตุ้นเราด้วยคำพูดเหล่านั้น จะทำหน้าที่เป็นบุคคลที่เราเรียกว่า Donor ครับ มักเป็นผู้ฝึกฝน สอน ให้ของวิเศษ ต่างๆ ด้วยความประสงค์ดี เพื่อให้ Hero ต่อสู้ไปให้ชนะจนได้ หรือมีชีวิตรอดไปจนจบเรื่อง (ถ้านึกไม่ออก ลองคิดถึงเรื่อง กังฟูแพนด้าก็ได้ครับ Donor คือ อาจารย์ Shifu นั่นแหละครับ) 


Hero มีสิทธิ์ ปฏิเสธ Donor ได้ครับ!! 


กำลังจะบอกว่า ไม่ใช่ทุกเรื่องครับ ที่ Hero จะพบกับสิ่งที่ตัวเองตามหาจาก Donor ซึ่งส่วนมากก็ไปเจอด้วยตัวเอง แนวทางของตัวเองทั้งนั้น ในวันที่ใช่ สถานที่ที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสมครับ กลับมาที่ความเป็นจริง ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกว่า เวลานี้สบายใจ และเหมาะสมกับการเกิดเรื่องราวใหม่ๆให้ชีวิต  เจ เค โรลลิ่ง ได้ออกมาพูดในประเด็นนี้ ประมาณว่า สำหรับบางคนแล้ว การเพียงแค่ประคับประคองจิตใจตัวเองไม่ให้ห่อเหี่ยว หดหู่ ลงไปเรื่อยๆ ก็นับว่ายากแล้ว หรือแม้กระทั่ง หากจะคิดว่า "การผ่านช่วงนี้ไปได้ ด้วยการมีสติและจิตใจที่เป็นปกติได้ ก็คือเรื่องราวใหม่ในชีวิตแล้ว" ก็ยังได้เลยครับ

ผมคงบอกตรงนี้ว่า "ไม่ผิดหรอกครับ" ถ้าจบช่วงนี้ไปแล้ว คุณจะยังไม่มีเพจ ไม่ได้ขายออนไลน์ ไม่ได้มียูทูป ไม่ได้มีสกิลใหม่เพิ่ม ไม่ผิดอะไรเลยครับ เมื่อสถานการณ์เหมาะสม สภาวะจิตใจที่เหมาะสม บรรยากาศที่เหมาะสม การมีเรื่องราวใหม่ให้ชีวิตก็ค่อยเกิดช่วงนั้นก็ได้ครับ Hero ทุกคน มีเส้นเรื่องเป็นของตัวเองครับ หน้าที่ของเราในเรื่องตอนนี้คือ ประคองจิตใจให้ปกติที่สุด ไปถึงวันที่เรื่องราวคลี่คลาย และจบลงครับ เท่านี้ก็เท่ากับ Hero ชนะ Villain ได้แล้วล่ะครับ :) 

"จงเริ่มเรื่องราวใหม่ ในวันที่ใจคุณอยากเริ่มครับ" 
อย่าเริ่ม เพราะมีใครมาบอกให้คุณเริ่ม ไม่งั้นมันจะเป็นการเริ่มต้นที่คุณไม่มีความสุขเท่าที่ควรครับ 

สู้ๆครับผม ผ่านไปด้วยกันครับ 
-----------------------------------------------

คอนเท้นท์อื่นๆ คลิก
presentationacademythailand@gmail.com
powerpoint100lemgwean@gmail.com 

Saturday, March 14, 2020

5 วิธีแบบโจรป่า เล่า "Data" ให้น่าฟัง


5 วิธีแบบโจรป่า เล่า Data ให้น่าฟัง


เชื่อมั้ยครับว่า ไม่ต้องวันนึงหรอกครับ เอาแค่นาทีเดียวก็พอ นาทีเดียวนั่นแหละครับเราเจอข้อมูล หรือที่เรียกกันบ่อยมากว่า Data มากถึง 40,000 ข้อมูล (Weinschenk, 2013) แต่....แน่นอนว่า เราทิ้งมันไปเกือบทั้งหมด เพราะเราจดจำได้แค่ 4 อย่างจาก 40,000 นั้นครับ แล้วลองคิดดูว่าถ้าเราต้องเล่า "Data" ให้คนฟังไปอีก ถมลงไปอีก เค้าจะเลือกจำ Data ของเราได้ยังไง นี่แหละครับคือประเด็น 

Data เป็นเรื่องน่าเบื่อ ใช่ครับ... เพราะมันเยอะ และยิ่งถ้าเกิดเล่าไม่ถูก เล่าแบบไม่รู้วิธี ก็จะยากที่จะดึงความสนใจจากคนดู คนอ่าน คนฟังได้ครับ วันนี้ผมขอนำเสนอ 5 วิธีแบบโจรป่า ที่จะทำให้เราเล่า "Data" ได้อย่างน่าฟัง น่าติดตามครับ 



1. เราจะ "จู่โจม" ใคร??

วิถีโจรป่า เราจะซุ่ม เพื่อศึกษาเหยื่อก่อนเสมอครับ จะเล่า Data ก็เหมือนกัน อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่าเราจะโจมตีใคร เล่า Data นั้นให้ใครฟัง คนที่จะมาฟัง (หรือมาอ่าน) นั้นมีพื้นฐานดีแค่ไหน รู้เรื่องราวมาก่อนมั้ย เข้าใจอะไรมาแล้วบ้าง เพราะสิ่งนี้จะทำให้เรา "เลือก" เล่าได้อย่างถูกต้องครับ 
การนำเสนอ (Presentation) เป็นพื้นที่สีเทา ที่อยู่ระหว่างซ้ายจัด คือ Report กับขวาจัด คือ Storytelling ครับ ซึ่งการเล่า Data เราเลือกได้ เลือกว่าจะอยู่ตรงกลางเป๊ะเลยมั้ย หรือจะค่อนไปทางซ้ายดี หรือขวาดี ซึ่งก็ไม่ได้เลือกมาตามใจชอบครับ ก็ต้องขึ้นกับ "จะโจมตีใคร" เป็นหลัก

เป็นต้นว่า ถ้าจะเล่า Data เรื่อง Covid-19 ให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง เราก็อาจจะต้องเน้นย้ำถึงพฤติกรรมเสี่ยง การใช้ชีวิตที่ถูกที่ควร ในขณะที่ถ้าจะไปคุยกับนักศึกษาชีวเคมี เราก็อาจจะต้องไปพูดถึงระดับโมเลกุล ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ต่างๆครับ Data ชุดเดียวกันเลย แต่....มุมเล่าแต่ละมุม ภาษาแต่ละแบบ ไม่ได้เหมาะสมกับ "เหยื่อ" ทุกคนครับ อันดับแรกคือต้องรู้จัก "เหยื่อ" ก่อนจู่โจมครับ 



2. นอกจาก Data จะถูก มันต้อง "ผูก" ความรู้สึกได้

สิ่งนี้เกิดบ่อยมากครับ สำหรับ Data ที่เป็นข้อมูลเชิงตัวเลข ซึ่งแน่นอนว่า คนเล่าก็ตรวจสอบมาแล้วเป็นที่เรียบร้อย และมันถูกต้องจริงๆ แต่.....โดยสำหรับการ "เล่า" Data แล้ว การให้ข้อมูลที่ถูกต้องอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการมีความรู้สึกร่วมของคนฟังครับ เช่น สมมติว่า เราบอกว่า ตามสถิติแล้ว มีผู้ป่วย Covid-19 เสียชีวิตประมาณ 2 - 3% ซึ่ง Data นี้ สามารถเล่าให้เกิด Impact มากขึ้นได้ เช่น หากในวันหนึ่ง เรามีผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน เราจะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 2 - 3 หมื่นรายเลยทีเดียว เป็นต้นครับ 

หรือ มากไปกว่านั้น Data ที่เป็นตัวเลขเหล่านั้น ผู้เล่าอาจจะต้องเปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น แทนที่จะบอกแค่ว่า ถ้ามีผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน จะมีผู้เสียชีวิตถึง 2 - 3 หมื่นคน เราอาจจะต้องเพิ่มเข้าไปด้วยการเปรียบเทียบว่า ...... หรือถ้าคิดเป็น 10 ล้านคน จะมีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 300,000 คน ซึ่งถ้าเทียบเป็นหลังคาเรือน ก็จะทำให้จังหวัดนึงในประเทศไทยร้างไปเลยก็ได้ เป็นต้นครับ 



3. Data ที่ดี ต้องมี "ประสบการณ์ใหม่" ไปฝาก

เคยสงสัยมั้ยครับว่า ทำไมบางคนเล่าเรื่องแล้วสนุก แต่บางคนกลับเล่าแล้วไม่สนุกเท่าไหร่ เพราะว่า เรื่องจะสนุกหรือไม่สนุก ขึ้นกับว่า คนฟังได้รู้อะไรใหม่บ้างครับ ซึ่งถ้าจะเล่า Data ให้สนุก ก็ควรจะต้องวางหมากมาแล้วว่า จะเอาอะไรไปฝากคนฟัง สิ่งนั้นน่าจะต้องเป็นเรื่องที่คนฟังไม่รู้ หรือไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนครับ 

สังเกตง่ายๆว่า เวลาเราเล่าเรื่องที่มาจากประสบการณ์ตรงของเราเอง มักจะเป็นที่น่าสนใจง่ายมาก เพราะว่า คนอื่นๆที่ฟัง ไม่ได้มีประสบการณ์เดียวกันกับเราครับ ดังนั้น เรื่องเล่าของเรา ก็จะเอาประสบการณ์ใหม่ไปฝากคนฟังครับ ก็จะประสบความสำเร็จได้ง่าย 



4. เล่า Data ต้องพาไปให้ "เห็นภาพ"

ก็รู้ๆกันอยู่ ว่า Data มีเยอะมากกกกก....กกกก นอกจากจะขึ้นกับคนเล่า ว่าจะหยิบตรงไหนมาเล่า จะให้ประสบการณ์อะไรใหม่กับคนฟังแล้ว การ "เล่าให้เห็นภาพ" เป็นสิ่งสำคัญมากๆครับ นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราถึงต้องมี Data Visualization มาช่วยในการเล่า Data ครับ เพราะส่วนนึงคือ คนขี้เกียจอ่าน อะไรยาวๆก็ไม่อ่านกันแล้ว ก็เลยต้องแปลงร่าง Data จับมาแต่งตัวใหม่ ให้กลายเป็นภาพให้มากที่สุดครับ ด้วยวิธีนี้ ก็จะช่วยให้ "เหยื่อ" ตกหลุมการเล่า Data ของเราได้มากขึ้น ง่ายขึ้น และเร็วขึ้นด้วยครับ 



5. การเล่า Data ที่ดี ควรมี "Conflict" 

เรื่องเล่าจะไม่สนุกเลย ถ้าไม่มีความขัดแย้ง หรือ Conflict ครับ ในการเล่า Data ก็เช่นกันครับ ข้อมูลที่เราเลือกมาเล่า ถ้าจะให้ดีก็ควรให้เกิดความขัดแย้งกัน (เล็กๆ) กับอะไรบางอย่างครับ เช่น ความเชื่อเดิมของคนอ่าน (คนฟัง) ขัดแย้งกับข้อมูลรอบข้าง ขัดแย้งกับธรรมชาติ ...... สึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ดึงความน่าสนใจของ Data เราออกมาสู่ผู้ฟังได้ครับ 




เอาล่ะ... ถ้าต้องเล่า Data ครั้งต่อไป ลองใช้เทคนิคแบบโจรป่า ดูบ้างก็ได้นะครับ รับรองว่า ต่อให้ Data ยากเย็นแค่ไหน ซับซ้อนแค่ไหน คนฟังก็ยังติดตามและสนใจได้จนจบเลยครับ วันนี้ไปก่อน ไว้เจอกันใหม่คอนเทนต์หน้านะครับ 

- โจร -
--------------------------------------------------------
PRACT - Presentation Academy Thailand
presentationacademythailand@gmail.com

Thursday, February 27, 2020

เล่า "แนวโน้ม" ยังไงให้เห็นภาพ


เล่า "แนวโน้ม" ยังไงให้เห็นภาพ

ถ้าต้องนำเสนออะไรซักอย่างในทุกวันนี้ เล่าไม่ดี ไม่เห็นภาพ คนก็ไม่ฟังเรา ไม่เชื่อเราครับ Data Visualization ก็เลยเข้ามามีบทบาทสำคัญกับงานนำเสนออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้ Graph Chart Diagrams ต่างๆ ก็เป็นตัวช่วยที่ดีมากๆครับ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นนามธรรม ให้คนสามารถเห็นภาพได้ เข้าใจได้ แต่....จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากครับ เพราะว่าแต่ละ Graph, Charts หรือ Diagrams เหล่านั้น ก็มีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว ที่ Data Visualizer ต้องคำนึงถึง เพื่อจะไปหยิบใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ

การนำเสนอ "แนวโน้ม" หรือความเป็นไปได้ (หรือ Trends) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ Data Visualization เข้ามาทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น มากกว่าการใช้ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียวครับ กราฟที่ตอบสนองสิ่งนี้ได้ดีที่สุดคือ "กราฟเส้น" (Linear Graph) ครับ เพราะกราฟเส้นมี "ความชัน" ของเส้นแต่ละช่วง ซึ่งความชันนี้เองจะเป็นตัวบอกแนวโน้มของสิ่งที่เราจะ "คาดการณ์" ว่ามันจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง มากหรือน้อย ครับ 

มากไปกว่านั้น บ่อยครั้งที่กราฟเส้นถูกใช้เพื่อการ "เปรียบเทียบ" อะไรบางอย่าง ในช่วงระยะเวลาเดียวกันก็ได้ครับ ซึ่งในกราฟชุดหนึ่งสามารถมีได้หลายเส้น (มากที่สุดไม่ควรเกิน 4 หรือ 5 เส้นนะครับ) เราก็จะเห็นการเปรียบเทียบทั้งความชัน และ ค่า ของกราฟแต่ละเส้น ในแต่ละจุดครับ 


ตัวอย่างที่เจอมาวันนี้ เป็นการใช้กราฟเส้นที่เอามารวมกับความเป็น Animation ครับ เพื่อนำเสนอแนวโน้มของการระบาดของโรคระบาดต่างๆ และแน่นอนว่า Coronavirus ก็เป็นสิ่งที่กราฟนี้กำลังพูดถึงครับ ซึ่งในกราฟ จะมีทั้งการ "เปรียบเทียบแนวโน้ม" ระหว่างอัตราการติดเชื้อ และอัตราการเสียชีวิต รวมถึง อัตราการติดเชื้อในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเทียบกันกับการแพร่กระจายของโรคระบาดอื่นๆอย่าง SARS  MERS ด้วยครับ 

นอกจากนี้ ในช่วงต้นของคลิป (ที่เป็นกราฟเปรียบเทียบการติดเชื้อกับการเสียขีวิต) เรายังสามารถใช้ร่วมกับ Map Diagram หรือแผนที่ได้ด้วยนะครับ เป็นการใช้ Data Visualization ที่มากกว่า 1 ชนิด ในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายครับ

ตัวอย่างที่เอามาให้ดู เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆครับ ดังนั้น ป้องกันตัวเองไว้ก่อนนะครับ อย่าเพิ่งเห็นแก่ตั๋วถูก ทัวร์ถูก ครับ เพื่อตัวเอง ครอบครัว และสังคมที่ปลอดภัยครับผม 


--------------------------------------------------------------------------------
PRACT - Presentation Academy Thailand
presentationacademythailand@gmail.com



Tuesday, February 18, 2020

ใช้ฟ้อนท์ให้ปัง มาฟังทางนี้


เคยมั้ย?? ใช้ฟ้อนท์ยังไง งานก็ไม่สวยซักที??


หนึ่งประเด็นที่น่าเห็นใจสำหรับคนทำงานพรีเซนท์อย่างเราๆก็คือ การพิมพ์เนื้อหาด้วยฟ้อนท์ (Font) ที่คิดว่าดีแล้ว แต่พองานออกมาก็กลับเชย ไม่สวย ไม่ลงตัว อ่านยาก ซะงั้น จะเปลี่ยนฟ้อนท์ยังไงก็ยังไม่รอด ไม่ปัง ซักที วันนี้มีทางออกมาให้แล้วครับผม 

บ้านเราเรียกกันติดปากว่า ฟ้อนท์ (Font) ครับ แต่ศัพท์เทคนิคจริงๆของนักออกแบบ เรียกรูปแบบตัวอักษรต่างๆเหล่านั้นว่า Typeface ครับ ซึ่งถ้าจะเอาตามความเป็นจริง Font จะเป็นรูปแบบของ Typeface แต่ละอันครับ เช่น Typeface: Arial  ส่วน Font จะเป็น Arial Bold, Arial Black, Arial Rounded เป็นต้นครับ  (แต่....ก็เรียกได้ว่าฟ้อนท์เหมือนกัน เหมือนเป็นชื่อเล่นกับชื่อจริง) ความน่าสนใจของงาน Font ก็คือ Font ที่เราใช้ๆกันอยู่ มีด้วยกันหลากหลายประเภทคับ ลายมือก็มี ตัวพิมพ์ก็มี ตัวพิมพ์แบบไม่มีเชิง (Sans Serif) ก็มี และทีนี้ ความบันเทิงก็เริ่มต้นขึ้นในการเลือกฟ้อนท์ให้มาเจอกันครับ เลือกยังไงก็ไม่เป๊ะซักทีก็เลยเลือกอยู่นั่น จนงานไม่ได้ไปไหน

ถ้ามองออกมาไกลหน่อย จริงๆแล้ว งาน Font ไม่ได้มีแค่การเลือก Font ให้มาเจอกันครับ วันนี้เราลอง "ก้าวข้าม" การเลือกฟ้อนท์กันก่อน เพราะว่ายังมีอีกหลายเทคนิคที่จะทำให้งาน Font ของเรานั้น ปังขึ้น เป๊ะขึ้น ดูดีขึ้นได้ในทันตาเห็นครับ วันนี้ PRACT ก็เลยรวบเอาเทคนิคดีๆมาบอกกัน แล้วลองเอาไปใช้กันดูในงานพรีเซนท์ครั้งหน้านะครับ

ใช้ฟ้อนท์ให้ปัง มาฟังทางนี้.... ตามมาโลด 




1. ชิดซ้ายอ่านง่ายที่สุด

ถ้าไม่รู้จะจัดหน้าตัวหนังสือยังไง ชิดซ้ายไว้ก่อนจะดีกว่าในทุกกรณีครับ เพราะวัฒนธรรมการอ่านของคนจะเริ่มต้นทางซ้ายเสมอครับ ซึ่งการจัดตัวหนังสือชิดซ้ายไว้ เป็นอะไรที่ปลอดภัยและดูโปรที่สุดแล้วในบรรดาการจัดหน้าทั้งหมดครับผม










2. อยากให้ฟ้อนท์มีคู่ ลองดูคนละตระกูล

ฟ้อนท์เองก็มีหน้าที่ครับ หลักๆคือหัวเรื่องกับเนื้อหา วิธีการที่ดีที่สุดอันนึงคือการจัดคู่ให้ฟ้อนท์ครับ ฟ้อนท์นึงทำหน้าที่เป็นหัวเรื่อง อีกฟ้อนท์นึงทำหน้าที่เป็นเนื้อหา และ Trick ก็คือ ลองเลือกฟ้อนท์ที่อยู่คนละตระกูลครับ เช่น มีหัว//ไม่มีหัว  ตัวหนา//ตัวบางๆ  ตัวยืดๆ//ตัวแบนๆ ประมาณนี้ครับ









3. ขนาด สำคัญ!!

ขนาด สำคัญเสมอครับ สิ่งที่ใหญ่กว่า จะถูกมองเห็นก่อน ซึ่งมันต่อเนื่องมาจากข้อเมื่อกี๊ครับ โดยปกติแล้ว ขนาดของหัวเรื่องต้องใหญ่กว่าเนื้อหาครับ เพื่อให้คนเห็นหัวเรื่องก่อน แล้วค่อยตามมาอ่านเนื้อหาข้างล่าง ซึ่งถ้าให้ดี ขนาดควรต่างกันอย่างน้อย 1.3 เท่าขึ้นไปครับ








4. ถ้าจะเอียง เอียงให้เป็นแนวเดียวกัน 

เราเอียงได้นะครับ แต่ว่า ถ้าจะเอียง อย่าเอียงสะเปะสะปะครับ พยายามมีแนวแกนที่ชัดเจน และใช้แกนนั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุด ทุกข้อความควรใช้แกนเดียวกัน องศาเดียวกัน แบบนี้ครับ







5. รูปร่างช่วยคุณได้ 

ข้อดีของการใช้รูปร่างคือ มันสามารถช่วยจัดกลุ่ม รวมกลุ่ม แยกกลุ่มกันได้ครับ ตัวอักษรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือรูปร่างเดียวกัน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันโดยปริยายครับ และคนดูจะแยกออกจากส่วนอื่นๆได้เลยโดยอัตโนมัติ











6. ขึ้นต้น ลงท้าย ยังไงให้โปร

เวลาขึ้นบรรทัดใหม่ ลองดูด้วยนะครับว่ามันจบประโยคยังไง เรามักจะไม่นิยมขึ้นบรรทัดใหม่โดยเหลือคำเดียวครับ (ในภาษาอังกฤษเรียกลักษณะเหล่านี้ว่า "แม่หม้าย") หรือแม้กระทั่ง ขึ้นหน้าใหม่ด้วยบรรทัดสุดท้ายของย่อหน้า อันนี้ก็ไม่ควรเช่นกันครับ










เท่านี้เอง งานฟ้อนท์ของเราก็ดูโปรเฟซชั่นนอลขึ้นได้แล้วล่ะครับ เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำให้พรีเซนท์เทชั่นของเราดูมืออาชีพมากยิ่งขึ้น (มากๆเลย) ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ

PRACT - Presentation Academy Thailand

อ่าน Blog อื่นๆที่
www.presentation-academy-thailand.com
www.facebook.com/powerpoint100lemgwean