Tuesday, February 18, 2020

ใช้ฟ้อนท์ให้ปัง มาฟังทางนี้


เคยมั้ย?? ใช้ฟ้อนท์ยังไง งานก็ไม่สวยซักที??


หนึ่งประเด็นที่น่าเห็นใจสำหรับคนทำงานพรีเซนท์อย่างเราๆก็คือ การพิมพ์เนื้อหาด้วยฟ้อนท์ (Font) ที่คิดว่าดีแล้ว แต่พองานออกมาก็กลับเชย ไม่สวย ไม่ลงตัว อ่านยาก ซะงั้น จะเปลี่ยนฟ้อนท์ยังไงก็ยังไม่รอด ไม่ปัง ซักที วันนี้มีทางออกมาให้แล้วครับผม 

บ้านเราเรียกกันติดปากว่า ฟ้อนท์ (Font) ครับ แต่ศัพท์เทคนิคจริงๆของนักออกแบบ เรียกรูปแบบตัวอักษรต่างๆเหล่านั้นว่า Typeface ครับ ซึ่งถ้าจะเอาตามความเป็นจริง Font จะเป็นรูปแบบของ Typeface แต่ละอันครับ เช่น Typeface: Arial  ส่วน Font จะเป็น Arial Bold, Arial Black, Arial Rounded เป็นต้นครับ  (แต่....ก็เรียกได้ว่าฟ้อนท์เหมือนกัน เหมือนเป็นชื่อเล่นกับชื่อจริง) ความน่าสนใจของงาน Font ก็คือ Font ที่เราใช้ๆกันอยู่ มีด้วยกันหลากหลายประเภทคับ ลายมือก็มี ตัวพิมพ์ก็มี ตัวพิมพ์แบบไม่มีเชิง (Sans Serif) ก็มี และทีนี้ ความบันเทิงก็เริ่มต้นขึ้นในการเลือกฟ้อนท์ให้มาเจอกันครับ เลือกยังไงก็ไม่เป๊ะซักทีก็เลยเลือกอยู่นั่น จนงานไม่ได้ไปไหน

ถ้ามองออกมาไกลหน่อย จริงๆแล้ว งาน Font ไม่ได้มีแค่การเลือก Font ให้มาเจอกันครับ วันนี้เราลอง "ก้าวข้าม" การเลือกฟ้อนท์กันก่อน เพราะว่ายังมีอีกหลายเทคนิคที่จะทำให้งาน Font ของเรานั้น ปังขึ้น เป๊ะขึ้น ดูดีขึ้นได้ในทันตาเห็นครับ วันนี้ PRACT ก็เลยรวบเอาเทคนิคดีๆมาบอกกัน แล้วลองเอาไปใช้กันดูในงานพรีเซนท์ครั้งหน้านะครับ

ใช้ฟ้อนท์ให้ปัง มาฟังทางนี้.... ตามมาโลด 




1. ชิดซ้ายอ่านง่ายที่สุด

ถ้าไม่รู้จะจัดหน้าตัวหนังสือยังไง ชิดซ้ายไว้ก่อนจะดีกว่าในทุกกรณีครับ เพราะวัฒนธรรมการอ่านของคนจะเริ่มต้นทางซ้ายเสมอครับ ซึ่งการจัดตัวหนังสือชิดซ้ายไว้ เป็นอะไรที่ปลอดภัยและดูโปรที่สุดแล้วในบรรดาการจัดหน้าทั้งหมดครับผม










2. อยากให้ฟ้อนท์มีคู่ ลองดูคนละตระกูล

ฟ้อนท์เองก็มีหน้าที่ครับ หลักๆคือหัวเรื่องกับเนื้อหา วิธีการที่ดีที่สุดอันนึงคือการจัดคู่ให้ฟ้อนท์ครับ ฟ้อนท์นึงทำหน้าที่เป็นหัวเรื่อง อีกฟ้อนท์นึงทำหน้าที่เป็นเนื้อหา และ Trick ก็คือ ลองเลือกฟ้อนท์ที่อยู่คนละตระกูลครับ เช่น มีหัว//ไม่มีหัว  ตัวหนา//ตัวบางๆ  ตัวยืดๆ//ตัวแบนๆ ประมาณนี้ครับ









3. ขนาด สำคัญ!!

ขนาด สำคัญเสมอครับ สิ่งที่ใหญ่กว่า จะถูกมองเห็นก่อน ซึ่งมันต่อเนื่องมาจากข้อเมื่อกี๊ครับ โดยปกติแล้ว ขนาดของหัวเรื่องต้องใหญ่กว่าเนื้อหาครับ เพื่อให้คนเห็นหัวเรื่องก่อน แล้วค่อยตามมาอ่านเนื้อหาข้างล่าง ซึ่งถ้าให้ดี ขนาดควรต่างกันอย่างน้อย 1.3 เท่าขึ้นไปครับ








4. ถ้าจะเอียง เอียงให้เป็นแนวเดียวกัน 

เราเอียงได้นะครับ แต่ว่า ถ้าจะเอียง อย่าเอียงสะเปะสะปะครับ พยายามมีแนวแกนที่ชัดเจน และใช้แกนนั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุด ทุกข้อความควรใช้แกนเดียวกัน องศาเดียวกัน แบบนี้ครับ







5. รูปร่างช่วยคุณได้ 

ข้อดีของการใช้รูปร่างคือ มันสามารถช่วยจัดกลุ่ม รวมกลุ่ม แยกกลุ่มกันได้ครับ ตัวอักษรที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือรูปร่างเดียวกัน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันโดยปริยายครับ และคนดูจะแยกออกจากส่วนอื่นๆได้เลยโดยอัตโนมัติ











6. ขึ้นต้น ลงท้าย ยังไงให้โปร

เวลาขึ้นบรรทัดใหม่ ลองดูด้วยนะครับว่ามันจบประโยคยังไง เรามักจะไม่นิยมขึ้นบรรทัดใหม่โดยเหลือคำเดียวครับ (ในภาษาอังกฤษเรียกลักษณะเหล่านี้ว่า "แม่หม้าย") หรือแม้กระทั่ง ขึ้นหน้าใหม่ด้วยบรรทัดสุดท้ายของย่อหน้า อันนี้ก็ไม่ควรเช่นกันครับ










เท่านี้เอง งานฟ้อนท์ของเราก็ดูโปรเฟซชั่นนอลขึ้นได้แล้วล่ะครับ เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำให้พรีเซนท์เทชั่นของเราดูมืออาชีพมากยิ่งขึ้น (มากๆเลย) ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ

PRACT - Presentation Academy Thailand

อ่าน Blog อื่นๆที่
www.presentation-academy-thailand.com
www.facebook.com/powerpoint100lemgwean





No comments:

Post a Comment