Sunday, July 5, 2020

Filter on IG and Depression




คุณนำเสนอ "ความซึมเศร้า" ที่มี  

ผ่าน Filter ใน IG อยู่รึเปล่า


IG หรือ Instagram เป็น Social Media อีก Platform นึงที่ใครหลายๆคนใช้กันครับ จากสถิติในปี 2020 พบว่า IG มีความนิยมของผู้ใช้ Social Media อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดผู้ใช้งานถึง 1,000 Billion บัญชีครับ (ตามมาด้วย TikTok ที่ 800 Billion บัญชี) ก็นับว่าไม่น้อยครับ ซึ่งความมีเสน่ห์ของ IG ก็คือการที่เราสามารถลงรูปได้ด้วย Filter หลากหลาย ที่ทางแอพพลิเคชั่นมีไว้ให้ หรือจะแต่งเพิ่มนิดๆหน่อยๆ ด้วยการดึงสี ดึงความสด ความซีด ก็แล้วแต่ความ "คุมโทน" ของแต่ละคน แต่ว่า.....ภายใต้ Filter เหล่านั้น เชื่อมั้ยครับว่าเรากำลังนำเสนอตัวตนอะไรบางอย่างของเราอยู่ลึกๆ


Andrew Reece จากมหาวิทยาลัย Harvard University สนใจเรื่องนี้ครับ และเค้าตั้งสมมติฐานไว้ลึกๆว่า การใช้ Filter ปรับสี ปรับแสง ปรับรูปใน IG มีความสัมพันธ์บางอย่างกับความ "ซึมเศร้า" ที่ซุกซ่อน อยู่ข้างในใจเรา Reece เริ่มต้นศึกษาด้วยวิธีการเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 500 คนครับ และให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 500 คนที่มี IG Account ของตัวเอง ได้ทำการตอบแบบสอบถามทางจิตวิทยา จากผลดังกล่าว พบว่า 170 คนจากทั้งหมด ระบุว่าตัวเองมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และ 70 คนจาก 170 นั้นกำลังได้รับการรักษาอยู่ 


อ่ะ...พอได้อย่างงี้แล้วก็ ทดไว้ในใจก่อน จากนั้น Reece ก็ลองเลือกรูปภาพมาจาก IG มาใช้วิเคราะห์ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เค้าก็มีการจัดอันดับ ด้วยคำถามวัดความชอบ ความพึงพอใจต่อรูปภาพ ด้วยการใช้แบบสอบถาม แบบ 5 4 3 2 1 ครับ จากรูปภาพมากกว่า 40,000 ภาพ Reece จัดอันดับ 100 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุดจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ระบุว่ามีความซึมเศร้า และอีก 100 อันดับแรกจากกลุ่มที่ระบุว่าซึมเศร้า จากนั้นก็นำรูปทั้ง 200 รูปดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ สี ความสดของสี รวมถึง Filter ที่ใช้ครับ 


พบว่า.... ผู้ที่โพสต์รูปภาพที่ออกโทน ซีดๆ เทาๆ น้ำเงินๆ มีความเกี่ยวพันกับความเป็นซึมเศร้าที่อยู่ในจิตใจได้ครับ ในขณะเดียวกัน คนที่ใช้รูปสีสดๆ ก็จะมีความเกี่ยวพันกับความเป็นปกติมากกว่า ซึ่ง Reece พบลักษณะ Filter ที่มีผลเกี่ยวพันกับการนำเสนอความซึมเศร้าในใจ คือ Inkwell ครับ 

Figure1:
รูปภาพสีปกติ เมือเทียบกับ Filter Inkwell

ซึ่ง Inkwell เป็น Filter ที่ทำให้สีของภาพนั้น กลายเป็นขาว เทา ดำ อย่างชัดเจนครับ ในขณะเดียวกัน Filter สำหรับคนที่ไม่ได้ระบุว่ามีความซึมเศร้า คือ Valencia ครับ 

รูปภาพสีปกติ เมื่อเทียบกับ Filter Valencia 

และ.... มากไปกว่านี้คือ Reece พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มจะโพสต์รูปใบหน้าของผู้คน (อื่นๆ) น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะความซึมเศร้าด้วยครับ (อ้าว ....ชิบ-ายละทีนี้ ใน IG มีแต่รูปตัวเอง) 

เอาเป็นว่า ก็เป็นการเก็บข้อมูลเล็กๆน้อยๆครับ เอาไว้สังเกตตัวเองกันได้ ลองเปิด IG แล้วเช็คดูอีกทีซักหน่อยครับ เพราะไม่แน่ว่า การนำเสนอตัวตนของเราบนโลกออนไลน์ อาจจะกำลังสะท้อนอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ครับผม 


ที่มาข้อมูล
------------------------------------------------------
อ.ดร.ธีร์ธวัช  เจนวัชรรักษ์
PRACT: Presentation Academy Thailand
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean 

No comments:

Post a Comment