Monday, July 27, 2020

ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่ "เสน่ห์" สร้างกันได้


ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่"เสน่ห์"สร้างกันได้

ไม่สวย ไม่หล่อ ไม่เท่ แต่ "เสน่ห์" สร้างกันได้


เชื่อว่า....หลายๆคนน่าจะเคยมีภาพจำว่า การที่คนจะชอบเวลาเรานำเสนอ หรือพูดจาอะไรก็ตาม เรื่อง "หน้าตา" สวยหล่อเท่เป็นสิ่งสำคัญครับ แต่วันนี้ อยากจะบอกว่า มันก็ไม่ขนาดนั้นเสมอไป เราจะเห็นได้บ่อยๆ บางคน สวย หล่อ เท่ แต่ทว่า ไม่เป็นที่น่า "จดจำ" หรือ "ประทับใจ" แล้วเราจะทำยังไงดีมันเป็นแบบนั้น 


สิ่งนี้เรียกว่า "ความมีเสน่ห์" ครับ ความมีเสน่ห์จะทำให้เราเป็นที่น่าประทับใจ น่าจดจำ กว่าความสวย หล่อ หรือเท่ ที่เราเข้าใจกัน อันดับแรกต้องบอกว่า เราก็สามารถสร้าง "เสน่ห์" เหล่านี้ได้เหมือนกันครับ เรียกว่าไม่ต้องพึ่งพาหมอศัลยกรรม ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก ด้วยการฝึกฝน และลองทำบ่อยๆ วันนี้เลยขอหยิบการสร้างเสน่ห์พื้นฐาน 3 ประการ มาให้ทดลองทำกันดูครับ แล้วต่อไป คุณเองจะเป็นที่น่าประทับใจ ทุกครั้งที่คุณพูดเลยล่ะครับ 

1. คนเราชอบคนที่เหมือนตัวเอง 
อันนี้ เป็นหลักการเชิงจิตวิทยาอย่างนึงครับ การสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟัง หรือผู้พบเห็น ประการแรกคือ ต้องเข้าใจก่อนว่า คนเรามักจะชอบคนที่เหมือนตัวเอง ทั้งทัศนคติ การวางตัว ระดับภาษาที่ใช้ ไปถึงท่าทางต่างๆ ดังนั้น การนำเสนอ การพูดจาในที่สาธารณะ (หรือแม้จะไม่สาธารณะ) ผู้พูดควร "สังเกต" ผู้ฟังก่อนครับ ว่าเค้ามีการวางตัว ท่าทาง หรือภาษาที่ใช้ยังไง แล้วลอง "ตาม" สิ่งเหล่านั้น ทั้งการวางท่าทาง ระดับภาษา พูดง่ายๆคือ ลองทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง อยู่ในระดับใกล้เคียงกันครับ คนฟังจะรู้สึกว่าคุณเป็น "พวกเดียวกัน" กับเขา ความประทับใจเริ่มขึ้นตรงนี้ครับ 

2. แสดงออกถึงความจริงใจทุกครั้ง 
ท่าทาง รอยยิ่ม ต่างๆ สามารถบ่งบอกถึงความจริงใจได้ด้วยนะครับ และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ Action Speaks Louder Than Words อย่างที่ทุกคนรู้ครับ การแสดงออกทางร่างกาย จะเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่งว่า คุณจริงใจหรือเปล่า รอยยิ้มที่แสดงออกทางดวงตา มากกว่าริมฝีปาก การผายมือออก การแสดงออกว่าคุณไม่ได้ซ่อนอะไรไว้เบื้องหลัง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ฟัง ไว้เนื้อเชื่อใจ และไว้วางใจผู้พูดได้ ก่อให้เกิดความ "จดจำได้" ตามมาครับ 

3. การกล่าวชมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
เชื่อมั้ยครับ ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการกล่าวชมใครซักคนในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น การกล่าวชมสีเสื้อ ต้มหู หรือแม้แต่เนคไท ของอีกฝั่ง คุณจะกลายเป็นคนที่มีเสน่ห์ทันที เพราะคุณ "ใส่ใจ" คู่สนทนาครับ คุณเองก็สามารถเริ่มต้นการสนทนาด้วยสิ่งนี้ได้ และคุณก็จะเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้ฟัง ตั้งแต่การนำเสนอยังไม่ได้เริ่มต้นด้วยซ้ำครับผม ดังนั้น จากตรงนี้ไป เสน่ห์ของคุณก็จะสร้างได้ไม่ยากเลยครับ 

ย้ำอีกครั้งว่า เสน่ห์ ไม่ได้ขึ้นกับความสวยหล่อครับ หลายๆครั้งที่เราพบว่า คนนั้นสวยจัง คนนี้หล่อจัง แต่ไม่น่าจดจำ ไม่น่าประทับใจ เพราะว่า เสน่ห์ คืออีกเรื่องนึงครับ ใครๆก็มีเสน่ห์ได้ ไม่ต้องไปจองคิวศัลยกรรมให้เสียสตางค์ครับผม ลองเอาไปใช้ดูนะครับ แล้วการสนทนาครั้งใหม่ คุณจะ "เข้าไปอยู่ในใจ" คนฟัง ตั้งแต่การนำเสนอยังไม่เริ่มครับ 

----------------------------------------------------------------------------
อาจารย์ ดร. ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean 


Sunday, July 5, 2020

Filter on IG and Depression




คุณนำเสนอ "ความซึมเศร้า" ที่มี  

ผ่าน Filter ใน IG อยู่รึเปล่า


IG หรือ Instagram เป็น Social Media อีก Platform นึงที่ใครหลายๆคนใช้กันครับ จากสถิติในปี 2020 พบว่า IG มีความนิยมของผู้ใช้ Social Media อยู่ในอันดับที่ 6 ด้วยยอดผู้ใช้งานถึง 1,000 Billion บัญชีครับ (ตามมาด้วย TikTok ที่ 800 Billion บัญชี) ก็นับว่าไม่น้อยครับ ซึ่งความมีเสน่ห์ของ IG ก็คือการที่เราสามารถลงรูปได้ด้วย Filter หลากหลาย ที่ทางแอพพลิเคชั่นมีไว้ให้ หรือจะแต่งเพิ่มนิดๆหน่อยๆ ด้วยการดึงสี ดึงความสด ความซีด ก็แล้วแต่ความ "คุมโทน" ของแต่ละคน แต่ว่า.....ภายใต้ Filter เหล่านั้น เชื่อมั้ยครับว่าเรากำลังนำเสนอตัวตนอะไรบางอย่างของเราอยู่ลึกๆ


Andrew Reece จากมหาวิทยาลัย Harvard University สนใจเรื่องนี้ครับ และเค้าตั้งสมมติฐานไว้ลึกๆว่า การใช้ Filter ปรับสี ปรับแสง ปรับรูปใน IG มีความสัมพันธ์บางอย่างกับความ "ซึมเศร้า" ที่ซุกซ่อน อยู่ข้างในใจเรา Reece เริ่มต้นศึกษาด้วยวิธีการเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 500 คนครับ และให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 500 คนที่มี IG Account ของตัวเอง ได้ทำการตอบแบบสอบถามทางจิตวิทยา จากผลดังกล่าว พบว่า 170 คนจากทั้งหมด ระบุว่าตัวเองมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และ 70 คนจาก 170 นั้นกำลังได้รับการรักษาอยู่ 


อ่ะ...พอได้อย่างงี้แล้วก็ ทดไว้ในใจก่อน จากนั้น Reece ก็ลองเลือกรูปภาพมาจาก IG มาใช้วิเคราะห์ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้เค้าก็มีการจัดอันดับ ด้วยคำถามวัดความชอบ ความพึงพอใจต่อรูปภาพ ด้วยการใช้แบบสอบถาม แบบ 5 4 3 2 1 ครับ จากรูปภาพมากกว่า 40,000 ภาพ Reece จัดอันดับ 100 อันดับแรกที่ได้คะแนนสูงสุดจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ระบุว่ามีความซึมเศร้า และอีก 100 อันดับแรกจากกลุ่มที่ระบุว่าซึมเศร้า จากนั้นก็นำรูปทั้ง 200 รูปดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์ สี ความสดของสี รวมถึง Filter ที่ใช้ครับ 


พบว่า.... ผู้ที่โพสต์รูปภาพที่ออกโทน ซีดๆ เทาๆ น้ำเงินๆ มีความเกี่ยวพันกับความเป็นซึมเศร้าที่อยู่ในจิตใจได้ครับ ในขณะเดียวกัน คนที่ใช้รูปสีสดๆ ก็จะมีความเกี่ยวพันกับความเป็นปกติมากกว่า ซึ่ง Reece พบลักษณะ Filter ที่มีผลเกี่ยวพันกับการนำเสนอความซึมเศร้าในใจ คือ Inkwell ครับ 

Figure1:
รูปภาพสีปกติ เมือเทียบกับ Filter Inkwell

ซึ่ง Inkwell เป็น Filter ที่ทำให้สีของภาพนั้น กลายเป็นขาว เทา ดำ อย่างชัดเจนครับ ในขณะเดียวกัน Filter สำหรับคนที่ไม่ได้ระบุว่ามีความซึมเศร้า คือ Valencia ครับ 

รูปภาพสีปกติ เมื่อเทียบกับ Filter Valencia 

และ.... มากไปกว่านี้คือ Reece พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มจะโพสต์รูปใบหน้าของผู้คน (อื่นๆ) น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะความซึมเศร้าด้วยครับ (อ้าว ....ชิบ-ายละทีนี้ ใน IG มีแต่รูปตัวเอง) 

เอาเป็นว่า ก็เป็นการเก็บข้อมูลเล็กๆน้อยๆครับ เอาไว้สังเกตตัวเองกันได้ ลองเปิด IG แล้วเช็คดูอีกทีซักหน่อยครับ เพราะไม่แน่ว่า การนำเสนอตัวตนของเราบนโลกออนไลน์ อาจจะกำลังสะท้อนอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ครับผม 


ที่มาข้อมูล
------------------------------------------------------
อ.ดร.ธีร์ธวัช  เจนวัชรรักษ์
PRACT: Presentation Academy Thailand
presentationacademythailand@gmail.com 
Youtube: powerpoint100lemgwean
Soundcloud: powerpoint100lemgwean